กระแสยารักษาไขข้อเสื่อมรักษาไม่ได้ มีแพทย์ออกมาแย้งแล้วค่ะ...

สืบเนื่องมาจากเรื่องยารักษาข้อเสื่อมที่กระทู้นี้นะคะ

เสียงของเราไปถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองแล้วค่ะ


ตอนนั้นมีกระแสมาว่า หน่วยงานต่างๆ ให้ทางกรมบัญชีกลางกลับไปทบทวนเรื่องการถอนยาแก้ข้อเสื่อมออกจากบัญชียาที่ให้ข้าราชการเบิกได้

สุดท้ายก็มีการออกมากล่าวอ้างผลการวิจัยบางตัวว่ายาข้อเสื่อมที่มีส่วนผสมของ "กลูโคซามีน" ใช้รักษาไม่ได้ผล เหมือนกับยาหลอกดีๆ นี่เอง

เลยกลายเป็นว่าจะถูกตัดออกอีก เพราะทำให้เปลืองงบ

เผย “ยาข้อเสื่อม” คุณสมบัติเท่ายาหลอก - ไทยสูญเงินปีละกว่า 600 ล้านบาท

แต่ก็มีหลายๆ เสียงที่เคยใช้ยาตัวนี้ออกมาแย้งว่ามันได้ผล ไม่ได้ใช้แล้วคิดไปเอง

และล่าสุด มีแพทย์บางท่านออกมาแย้งเรื่องนี้แล้วค่ะ ว่าเป็นเพราะใช้ยาที่ไม่มีประสิทธิภาพมาทำการวิจัย จึงได้ผลที่คลาดเคลื่อน

ข้อคิดเห็นที่แตกต่างต่อกระแสยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

ตกลงว่ากลายเป็นประเด็นที่จบไม่ลงซะแล้วนะคะ

แล้วแบบนี้ อนาคตของยารักษาโรคข้อเสื่อมจะเป็นอย่างไร?

จะโดนตัดออกไหม?

อยากให้ผู้ที่มีประสบการณ์การรักษาออกมาแชร์ความเห็นกันหน่อยค่ะ

เพราะของเราก็เสียงหนึ่งแล้วล่ะ ที่ว่ารักษาได้จริง

คนนั่งปวดเข่าข้างๆ ตัวนี่แหละ เป็นคนยืนยัน...

Discussion (31)

ก็ต้องดูแหละค่ะ ว่าจะเชื่อหมอกระดูกหรือหมอเด็ก ถ้าพูดถึงเรื่องข้อเข่าเสื่อม
แพทย์ มข.แจงข้อเท็จจริงกรณีกรมบัญชีกลางไม่ให้ข้าราชการใช้สิทธิ์เบิกยารักษาโรคข้อเสื่อมทุกชนิด เผย “ยาข้อเสื่อม” ไม่มีประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติเท่ายาหลอกจริงหรือ - ไทยสูญเงินปีละกว่า 600 ล้านบาทเป็นงบประมาณที่ใช้รักษาข้อเสื่อมสูงเกินไป กรมบัญชีกลางมีอคติหรือไม่ จากการประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 เรื่อง การให้ระงับการเบิกค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ในส่วนของ‘ ยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม’ หรือกลูโคซามีน คอนดรอยติน และไดอะเซอเรน ทุกรูปแบบรวมทั้งไฮยาลูโรนแนนชนิดฉีดเข้าข้อ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้มีสิทธิภายใต้ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้รับผลกระทบ ล่าสุดศาสตราจารย์นายแพทย์วีระชีย โควสุวรรณ แพทย์ออร์โธปิดิกส์ นักเศรษฐศาสตร์คลินิก นักระบาดวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของการใช้ยารักษาข้อเสื่อม ปัญหาด้านวิชาการของกรมบัญชีกลาง จากการที่กรมบัญชีกลางไม่ให้ข้าราชการใช้สิทธิในการเบิกยารักษาโรคข้อเสื่อมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น กลูโคซามีน (glucosamine) คอนดรอยอิติน (chondroitin) ไดอะเซอร์รีน (diacerein)และยาฉีดเข้าข้อกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) นั้น โดยให้เหตุผลของงบประมาณที่สูง 600 ล้านบาทต่อปี และยาในกลุ่มนี้ไม่มีประสิทธิภาพ จากข้อปัญหาเหล่านี้สามารถตั้งคำถามได้อย่างน้อยสองคำถาม คือ ยาในกลุ่มนี้ไม่มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากยาหลอกใช่หรือไม่ และการรักษาข้อเสื่อมใช้งบประมาณสูงใช่หรือไม่? สำหรับคำถามแรกยาในกลุ่มนี้ตัวแรก คือ ยากลูโคซามีนนั้นต้องเข้าใจด้วยว่ากำลังพูดถึงกลูโคซามีนตัวใด เพราะกลูโคซามีนมีหลายชนิดของเกลือ และหลายโครงสร้างของการเป็นผลึก ซึ่งมีผลต่อการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ เป็นต้น ล่าสุดมีการศึกษาจาก วารสารทางการแพทย์ BMJ ได้ตีพิมพ์ผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเฉพาะยากลูโคซามีน และคอนดรอยอิติน สองชนิดเท่านั้น โดยเลือกเฉพาะการศึกษาวิจัยตามเกณฑ์ของผู้วิจัย โดยไม่ได้กำหนดว่าเป็นกลูโคซามีนชนิดใด ขนาดของยาเท่าไร และการศึกษาแต่ละฉบับมีระยะเวลาของการรักษาที่แตกต่างกันมาก และเป็นการศึกษาทั้งข้อสะโพกและข้อเข่า เสื่อม ที่สำคัญผู้วิจัยกำหนดค่าความน่าจะเป็นของความแตกต่างเทียบกับยาหลอกขึ้นมาเฉพาะ เป็นตัวเลขที่จะนำมาใช้คำนวณ โดยใช้วิธีทางสถิติที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งเป็นสถิติที่ไม่นิยมใช้เปรียบเทียบในกรณีที่มีข้อมูลดิบของแต่ละงานวิจัยอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามผลออกมาว่าเฉพาะกลูโคซามีนเท่านั้นที่ประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่แตกต่างมีนัยสำคัญเท่ากับที่นักวิจัยตั้งตัวเลขไว้ และถ้าเอาเกณฑ์ตัวเลขดังกล่าวไปเทียบกับ ยาพาราเซตามอล และยาต้านการอักเสบทั้งหมด หรือวิธีการรักษาต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ยารักษา จะพบได้เลยว่าไม่มีวิธีการรักษาใดเลยที่ให้ผลเท่ากับหรือมากว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นี่คืออคติที่เกิดขึ้นกับการตั้งเกณฑ์ตามมุมมองของนักวิจัย และแม้แต่นักวิชาการของกรมบัญชีกลางที่วิเคราะห์งานวิจัยเองก็น่าจะตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารหรือเสนอผลงานในการประชุมเพื่อเป็นที่ยอมรับทางด้านวิชาการ จากแหล่งข้อมูลเหล่านี้พอจะยืนยันได้ว่า ยาผลึกกลูโคซามีน ซัลเฟต, ไดอะเซอร์รีน และยาไฮยาลูโรนิก มีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปลอดภัยตามที่คณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยที่เป็นหน่วยงานโดยตรงได้พิจารณาและอนุญาตให้ยาเหล่านี้ขึ้นทะเบียนยา เพราะเป็นยาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยสำหรับประชาชนไทย และการที่กรมบัญชีกลางที่ไม่มีหน้าที่โดยตรงออกคำสั่งไม่ให้เบิกยากลุ่มนี้ทั้งกลุ่มไม่น่าจะถูกต้องเพราะมีอคติในการแปลผลและขาดหลักฐานทางวิชาการ คำถามข้อที่สองที่ว่าใช้เงินงบประมาณมากจริงหรือ? คำถามข้อนี้น่าจะพิจารณาดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาด้านระบาดวิทยา การที่ใช้งบประมาณมาก เพราะประเทศไทยมีคนสูงอายุเพิ่มขึ้น (7.2 ล้านคนร้อยละ 30 เกิดข้อ เสื่อม) จึงมีโรคข้อเสื่อมก็เกิดมากขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุ จึงมีการใช้ยามากขึ้นใช่หรือไม่ คนเหล่านี้มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาใช่หรือไม่ 2. ถ้าใช้ยากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น การใช้ยาแก้ปวด ยาต้านอักเสบ ลดลงหรือไม่ และผู้ป่วยที่เกิดผลข้างเคียงจากยาพาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบ เช่น กระเพาะทะลุ เลือดออกในกระเพาะ โรคไตวาย โรคตับวายตลอดจนโรคหัวใจที่เกิดจากการรับประทานยากลุ่มนี้ลดลงหรือไม่ 3. ถ้าได้ยากลุ่มนี้แล้วผู้ป่วยต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อลดลง หรือยืดเวลาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมากน้อยเพียงใด 4. แพทย์ใช้ยาไม่เหมาะสม ใช่หรือไม่เพราะการรักษาข้อเสื่อมไม่จำเป็นต้นใช้ยาเหล่านี้รักษาทุกคนต้องผ่านขั้นตอนการรักษาอื่นมาก่อน โดยเฉพาะข้อเสื่อมระยะแรกหรือข้อเสื่อมระยะสุดท้ายที่มีอาการมากแล้วยากลุ่มนี้ไม่ได้ผล ยากลุ่มนี้จะได้ผลในผู้ป่วยข้อเสื่อมระดับปานกลางทานั้น ซึ่งทางราชวิทยาลัยแพทย์ที่เกี่ยวข้องได้สร้างเกณฑ์และแนวทางการรักษา (Guidelines) ไว้แล้ว ดังนั้นต้องตรวจสอบดูว่าแพทย์ให้การรักษาตามคำแนะนำมากน้อยเพียงใด 5. ราคายาที่แพงเพราะมีค่าการตลาด การจัดประชุม สัมมนาให้กับแพทย์ใช่หรือไม่ถ้าเป็นเช่นนั้นการลดค่าการตลาดลงร้อยละ 30-50 น่าจะช่วยให้ยาที่มีประโยชน์นี้ถูกลงหรือไม่ ดังนั้นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องตอบคำถามเหล่านี้และทำหน้าที่ของตนเองให้ชัดเจนและควรประชุมปรึกษาหาทางแก้ไขระดมความคิดเห็นโดยตรง ไม่ใช่ออกหนังสือให้แสดงความเห็นในช่วงเวลาจำกัด ที่มีเงือนไขว่าถ้าไม่ตอบหมายความว่าเห็นด้วยกับกรมบัญชีกลาง ก่อนที่จะตัดสินใจออกคำสั่งที่มิชอบด้วยหลักการทางวิชาการและหน้าที่ โปรดเห็นใจผู้ป่วยข้อเสื่อมเหล่านี้ ขณะนี้กำลังเกิดปัญหาผู้ป่วยจะฟ้องแพทย์และโรงพยาบาลว่าใช้ยาไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาข้อเสื่อม โปรดแก้ไขคำสั่งและประชุมปรึกษาหารือร่วมกันดีกว่าครับ ธรรมชาติย่อมเป็นไปได้หลายหลาก ข้อมูลแม้มีมากหาพอไม่ ประเมินค่าได้หลายอย่างต่างกันไป ทรัพยากรที่หาได้ไม่เคยพอ ตัดสินใจบางคราวลำบากยิ่ง ก็เนื่องจากความจริงทั้งสี่ข้อ ตัดสินใจเพื่อคนไข้ไม่อาจรอ แต่ละข้อควรวิเคราะห์ให้เหมาะเอยฯ
เว็บนี้หรือเปล่าคะ คุณหมอเป็นทั้งอาจารย์ และแพทย์เฉพาะทางรักษาโรคกระดูกโดยตรง ใช้ยากลูโคซามีนรักษาคนไข้จริง และยืนยันว่าใช้กลูโคซามีนรักษาได้ผลค่ะ http://www.md.kku.ac.th/th/news/?option=com_content&task=view&id=1688
แยาเลยนะคะ เคยเห็นว่ามีหมอที่รักษากระดูกโดยตรงบอกว่าใช้เอง รักษาได้ มีคนรู้จักกันใช้ยายี่ห้อนึง จำได้เลยว่าชื่อ Viartril-S แล้วอาการดีขึ้นจริง สรุปว่าคิดไปเองอย่างที่คุณหมอท่านนี้ว่าเหรอคะ เพราะหมอที่ยืนยันว่าใช้ได้จริงเป็นหมอกระดูกท่รักษาโดยตรง แล้วคุณหมอท่านี้ท่านเชี่ยวชาญด้านไหนคะ? ทำไมบอกว่าใช้ไม่ได้ซะอย่างงั้นล่ะ
ได้ดูคลิปที่คุณวิฬารีแปะให้แล้วค่ะ

สะดุดหลายกึกมากเลย ตรงที่ว่า "กินพาราแก้ปวด" แบบนี้จะมีหมอไว้ทำไมคะ? ไปซื้อยาหมอตี๋กินแทนดีกว่ามั้ย?

ยิ่งที่บอกว่าคนที่กินแล้วหายเป็นเพราะคิดว่าหายก็หายนี่...เอ่อ จะบอกว่าทั้งหมอที่ให้ยา ทั้งคนไข้ อุปาทานหมู่ร่วมกันหมดว่างั้น?

ยิ่งกว่านั้น ที่ว่าถ้ามีเงินซื้อกินก็ซื้อ เพราะเงินของคุณจะซื้ออาหารเสิรมมากิน อ่า...ข้าราชการอย่างพวกเราไม่ได้มีเงินมาพอจะไปซื้อ "วิตามิน" หรือ "อาหารเสริม" กินกันเป็นประจำนะคะ

เคืองหัวใจมากค่ะ อยากบอก....