ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม กับการระเบิดโรงงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในอดีต ที่ยูเครน
Serrerty7หากถอยหลังกลับไปประมาณ 20 ปี เหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่เป็นข่าวคึกโครมไปทั่วโลก คงหนีไม่พ้น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล( Chernobyl Nuclear Power Plant)
ตั้งอยู่ที่นิคมเชอร์โนบิล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองพริเพียต จังหวัดเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส (ในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) อุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุด เกิดระเบิดขึ้นตอนเช้าตรู่ของวันที่ 26 เม.ย.2529 ที่เตาปฏิกรณ์ปรมาณู 1 ใน 4 ของโรงงาน
ขณะทีมวิศวกรได้ทำการทดลองที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 โดยทดสอบว่าระบบทำความเย็นจะสามารถดึงกระแสไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์มาใช้อย่างไร หากเกิดกรณีไฟตกหรือพลังงานต่ำกว่าความต้องการ เมื่อการทดสอบเริ่มขึ้น และวิศวกรก็เพิ่มการทำงานของก้านสูบ แต่ในเวลาไม่ถึง 1 นาทีระดับพลังงานก็เกิดมีปัญหา และเตาปฏิกรณ์ก็เริ่มร้อนเกินพิกัด สุดท้ายก็เกิดระเบิด มีผู้เสียชีวิตทันที 31 คน!!
สภาพหลังคาอาคารที่คลุมเตาปฏิกรณ์หลอมเปลี่ยนรูปเพราะความร้อน และปลิวหลุดออกไป ตามด้วยสิ่งที่อยู่ในเตาก็พวยพุ่งออกมาราวกับภูเขาไฟปะทุ
อากาศบริเวณโรงงานถูกปกคลุมไปด้วยสะเก็ดจากเตา หลังหายนะที่แสนอันตราย แต่ดูเหมือนไม่ร้ายแรง นักผจญเพลิงปีนขึ้นไปบนหลังคาของโรงงานเพื่อจะสยบเพลิงที่ลุกโชติช่วง ขณะเดียวกันเฮลิคอปเตอร์หลายต่อหลายลำก็ทยอยขนทรายมาใส่ในเตาเพื่อลดแรงไฟและกัมมันตรังสีที่แผ่ออกมา ทุกคนต่างก็ไม่รู้ว่าการเข้ามาเกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสีนั้นมีความเสี่ยงมาน้อยแค่ไหน แม้จะสามารถดับเพลิงสำเร็จ แต่ภายหลังทั้งหมดต่างจบชีวิตเพราะพิษกัมมันตภาพรังสี
ขณะนั้นมีการรายงานค่อนข้างช้าต่ออุบัติภัยดังกล่าว แม้ว่านานาประเทศในละแวกใกล้เคียงจะตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีลอยไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร
ในเมื่อการขาดข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง ทำให้มีการอ้างความเสียหายแค่เพียงจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดจำนวนไม่มาก ส่งผลให้ปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่แจ้งข้อมูลล่าช้า จนทำให้กระจายวงกว้างไปในหลายพื้นที่นั้น
นับเป็นอุบัติภัยทางนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การใช้นิวเคลียร์ มีการกล่าวขานว่าหายนะภัยครั้งนี้ถูกประเมินว่ารุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มนางาซากิและฮิโรชิมาในประเทศญี่ปุ่น เพราะสารกัมมันตภาพรังสียังคงปนเปื้อนอยู่ต่อเนื่อง แม้ว่าโรงงานเชอร์โนบิลจะปิดตัวลงแล้ว แต่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งครอบคลุมทั้งพื้นที่เบลารุส ยูเครน และรัสเซีย มีเพียง 350,000 คนที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น
ปัจจุบันสิ่งปนเปื้อนยังฝังแน่นอยู่ตามผืนดิน และหลังจากเกิดอุบัติเหตุระเบิด ก็พบกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่ในทุกๆ ประเทศที่เหนือขึ้นไปตามทิศทางลมที่พัดพา อย่างเช่นประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ได้รับผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กันเพราะอยู่ในทิศทางลมพอดี ในส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตจากผลพวงจากเหตุการณ์ระเบิดที่เชอร์โนบิล ที่ สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุมีถึง 9,000 ราย เสียชีวิตด้วยมะเร็งอันเนื่องมาจากการรับสารรังสีเข้าไป แต่ทางกรีนพีซเชื่อว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพน่าจะมากกว่าที่ยูเอ็นคาดการณ์ไว้
โดยเฉพาะเสียชีวิตด้วยมะเร็งน่าจะสูงถึง 93,000 คน และโรคอื่นๆ อีกนับแสนคน โรคที่เห็นเด่นชัดว่าเป็นผลพวงมาจากการรั่วไหลของกัมมัตภาพรังสี คือ มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ โดยพบมากถึง 4,000 คน ส่วนใหญ่กำลังเป็นเด็กและวัยรุ่นในช่วงที่เกิดเหตุระเบิด
บทเรียนจากเหตุการณ์การระเบิดที่โรงงานเชอร์โนบิล กลายเป็นบทเรียนสำคัญของมนุษย์ในการนำวิทยาการใหม่ๆมาใช้
ทำให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ตัดสินใจตั้งหน่วยรับมือฉุกเฉินที่กรุงเวียนนา ของประเทศออสเตรีย เมื่อปี พ.ศ.2529 มีอุปกรณ์การสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเอกสารและฐานข้อมูลที่จำเป็นในกรณีเกิดอุบัติเหตุสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล มีเจ้าหน้าที่ประจำการตลอด 24 ชั่วโมง และมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์พร้อมเดินทางไปยังที่เกิดเหตุในประเทศต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดที่ประเทศญี่ปุ่น ก็จะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือและประเมินสถานการณ์ทันที
ถึงแม้ว่าพลังงานของนิวเคลียร์จะมีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติในหลาย ๆ เรื่อง แต่ก็เป็นมหันตภัยของมนุษยช์ทั้งโลกเช่นกัน แต่พลังงานนิวเคลียร์ที่มวลมนุษย์ยังจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ต่อโลกต่อไป เพียงแต่ว่าจะหาวิธีป้องกันภัยจากพลังนิวเคลียร์ได้มากน้อยเพียงใด
สำหรับโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่กำลังจะคิดดำเนินการในอนาคตนั้น เหตุเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นในขณะนี้ อาจทำให้โครงการดังกล่าวจะหยุดชะงักลงไป หรือทำให้โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ล่าช้าออกไปอีกนานแสนนาน
แต่ที่แน่ ๆ สักวันหนึ่งในอนาคตประเทศไทยคงหนีไม่พ้นโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังเช่นประเทศอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว!!
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.unigang.com/Article/6406
จากที่เรา ดูข่าว ดูเหมือนหลายๆ สื่อ ของหลายๆประเทศ ประกาศ ว่าไม่ควรหวั่นวิตกจนเกินกว่าเหตุ แต่จากสิ่งที่เกิดในยูเครนน่าจะบอกได้ดีว่ามันไม่ธรรมดาเลย คนที่ตายวันเกิดเหตุเทียบอะไรไม่ได้เลยกับ คนที่ตายจาก สารกัมมันตรังสีที่ได้รับ และเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา เราไม่รู้ว่ามันจะมาถึงบ้านเรามั้ย แต่ใครจะไปรู้ เพราะมันอยู่ในอากาศ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ขนาดลมหนาวจากจีนยังมาถึงไทยเลย
ปล. สาวๆจ๋า แต่งสวยกันแล้วก็อย่าลืมติดตามข่าวสารกันด้วยนะจ๊ะ ไม่ใช่สวยแต่ป่วยนี่ไม่ไหวนะๆ เนอะๆ
Discussion (7)
ขอบคุณสำหรับข้อมูล และทุกความคิดเห็นที่แชร์มานะคะ ใช่ค่ะ พี่ไทยเราใจเย็นเกินไปจริงๆ ที่จะทำโปรเจคที่เสื่องภัยขนาด อย่าว่าแต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลยค่ะ แค่โรงงานอุตสาหกรรมธรรมดาที่มีอยู่ก็ยังจะควบคุมไม่ให้ปล่อยสารพิษออกมารบกวนชวนบ้านตาดำๆไม่ได้เลย
จริงๆ ไม่มีความรู้เรื่องนิวเคลียร์นะคะ แต่เคยเดินทางไปราชการต่างประเทศแล้วมีคนในคณะที่จบด็อกเตอร์ทางด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์ไปด้วย แล้วเค้าพูดเรื่องนี้ในวงสนทนาที่พี่อยู่ด้วยก็เลยแอบฟัง การแอบฟังนี้ผ่านมาเป็นปีแล้วนะคะ อาจจะเก็บรายละเอียดได้ไม่มาก (จบทางสายศิลป์ ไม่ใช่สายวิทย์ ความรู้พื้นฐานเลยน้อย)
ยุคเชอร์โนบิลไม่มีการตั้งโปรแกรมให้เตาหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือน
ญี่ปุ่นมีการตัววัดแรงสั่นสะเทือนที่จะสั่งให้เตาหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจจับแรงสั่นสะเทือนได้ (เค้าป้องกันไว้เพราะเค้ารู้ว่าประเทศเค้าอยู่บนเปลือกโลกส่วนที่มีรอยแยก และตามปกติก็เกิดแผ่นดินไหวมาบ้างหลายครั้งแล้วแต่เผอิญมันไม่รุนแรงเท่าครั้งนี้) ส่วนความร้อนสูงที่คงค้างอยู่ของเตา ก็มีระบบหล่อเย็นที่คอยฉีดน้ำให้เตาค่อยๆ คลายความร้อนลง ระบบหล่อเย็นนี้จะฝังอยู่กับโดมครอบเตาปฏิกรณ์ (โดมนี้เป็นสิ่งก่อสร้าง)
ยุคเชอร์โนบิลยังไม่มีระบบหล่อเย็น
--------- ทีนี้ก็เป็นส่วนที่ติดตามข้อมูลมาจากเว็บไซต์ต่างๆ ค่ะ
ตอนนี้สิ่งทีเกิดขึ้นคือระบบการหล่อเย็นขัดข้อง ทำให้เกิดไฟไหม้ อาคารโดมครอบเตาปฏิกรณ์และบางจุดของโดมมีการระเบิด กัมมันตรังสีที่ว่าแผ่ออกมามันเหมือนเวลาที่เราอยู่ใกล้ๆ เตาแล้วรับไอร้อน เพียงแต่ไอร้อนแบบนี้มันมีสารที่มีอันตรายถ้ารับเข้าไปในร่างกายเกินขนาด แต่ไม่ใช่การแผ่รังสีโดยตรงมาจากยูเรเนียมที่อยู่ข้างในเตา เพราะเตาหยุดทำงานแล้ว แที่นักวิทยาศาสตร์กลัวคือถ้าหาทางให้หล่อเย็นด้วยวิธีอื่นไม่ได้ โดมครอบเตาจะระเบิดเสียหายมากกว่านี้ รังสีจากเตาเมื่อไม่มีอะไรมาปิดกั้นก็จะแผ่ออกมาได้สะดวกยิ่งขึ้น (การมีเศษไอร้อนคงค้างในรูปของรังสีนั้นเป็นเรืองปกติของโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ พี่เองเคยไปดูโรงงานนิวเคลียร์ที่เวียดนาม ก่อนออกจากตัวอาคารก็ต้องผ่านเครื่องวัดระดับกัมมันตรังสีเหมือนกันค่ะ )
อย่างไรก็ตาม เท่าที่อ่านมา รังสีจะแผ่ออกมาในลักษณะวงกลม กว้างออกในรูปของวงกลมที่ออกจากฐานไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ฟุ้งกระจายไร้ทิศทางเหมือนก๊าซ เพราะก๊าซมีมวลที่เบากว่า
นี่คือที่หาข้อมูลมาได้ แบบก็ไม่ได้หาอะไรจริงจังสืบค้นอะไรมากนัก ดูเฉพาะเรื่องหลักๆ
เมื่อพลังงานจากธรรมชาติร่อยหรอ ในขณะที่ประชากรโลกมากขึ้น ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนมีเพิ่มขึ้น วันหนึ่งคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องนำนิวเคลียร์มาใช้ผลิตไฟฟ้าในบ้านเรา เหมือนกับที่ในเวียดนามเค้าใช้อยู่ ซึ่งถ้ามีปัญหาแบบญี่ปุ่นแล้วแผ่รังสีออกมา เราก็ไม่รอดเพราะใกล้กว่าเยอะเลย มองลงไปทางใต้ มาเลเซียใช้ทั้งก๊าซและนิวเคลียร์ มีปัญหาขึ้นมาเราก็คงไม่รอดเหมือนกัน ตอนนี้คงอาจต้องเปรียบเทียบน้ำหนักว่าจะเลือกเสียงแบบมีพลังงานใช้ หรือเสี่ยงแบบไม่มีพลังงานใช้ ทุกวันนี้เราก็ไม่มีพลังงานพอใช้หรอกนะ ซื้อไฟฟ้าจากลาวปีละเท่าไหร่ลองไปหาข้อมูลดู รู้แล้วจะตกใจเลยล่ะ
แต่ถ้าถามว่าแล้วอยากให้มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองไทยไหม บอกตรงๆ คือ ถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆ ก็อย่าเพิ่งเลย ไม่มั่นใจว่าการสร้างเตาปฏิกรณ์+โดมครอบเตา+ระบบป้องกันภัยต่างๆ จะได้มาตรฐานหรือเปล่า กลัวจะมีการโกงกินจนเสป็คลดลง ( อันนี้ไม่เกี่ยวกับสีนะ เพราะไม่ว่าใครฝ่ายไหนจะมาเป็นรัฐบาลก็ไม่ไว้ใจทั้งนั้น เชื่อว่าการโกงกินคงยังไม่หมดไปจากเมืองไทยง่ายๆ) หรือแม้แต่มองในแง่ดีว่าทุกอย่างได้มาตรฐานหมด ก็ยังกลัวอยู่ดีว่าถ้าเกิดเหตุสุดวิสัยอย่างญีปุ่น ภาครัฐจะมีศักยภาพในการรับมือได้แค่ไหน เพราะที่ผ่านมาหลายๆ เรื่องที่เค้ากังวลกันทั้งโลก แต่พี่ไทยยังคงใจเย็นตัลหลอด
ยุคเชอร์โนบิลไม่มีการตั้งโปรแกรมให้เตาหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือน
ญี่ปุ่นมีการตัววัดแรงสั่นสะเทือนที่จะสั่งให้เตาหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจจับแรงสั่นสะเทือนได้ (เค้าป้องกันไว้เพราะเค้ารู้ว่าประเทศเค้าอยู่บนเปลือกโลกส่วนที่มีรอยแยก และตามปกติก็เกิดแผ่นดินไหวมาบ้างหลายครั้งแล้วแต่เผอิญมันไม่รุนแรงเท่าครั้งนี้) ส่วนความร้อนสูงที่คงค้างอยู่ของเตา ก็มีระบบหล่อเย็นที่คอยฉีดน้ำให้เตาค่อยๆ คลายความร้อนลง ระบบหล่อเย็นนี้จะฝังอยู่กับโดมครอบเตาปฏิกรณ์ (โดมนี้เป็นสิ่งก่อสร้าง)
ยุคเชอร์โนบิลยังไม่มีระบบหล่อเย็น
--------- ทีนี้ก็เป็นส่วนที่ติดตามข้อมูลมาจากเว็บไซต์ต่างๆ ค่ะ
ตอนนี้สิ่งทีเกิดขึ้นคือระบบการหล่อเย็นขัดข้อง ทำให้เกิดไฟไหม้ อาคารโดมครอบเตาปฏิกรณ์และบางจุดของโดมมีการระเบิด กัมมันตรังสีที่ว่าแผ่ออกมามันเหมือนเวลาที่เราอยู่ใกล้ๆ เตาแล้วรับไอร้อน เพียงแต่ไอร้อนแบบนี้มันมีสารที่มีอันตรายถ้ารับเข้าไปในร่างกายเกินขนาด แต่ไม่ใช่การแผ่รังสีโดยตรงมาจากยูเรเนียมที่อยู่ข้างในเตา เพราะเตาหยุดทำงานแล้ว แที่นักวิทยาศาสตร์กลัวคือถ้าหาทางให้หล่อเย็นด้วยวิธีอื่นไม่ได้ โดมครอบเตาจะระเบิดเสียหายมากกว่านี้ รังสีจากเตาเมื่อไม่มีอะไรมาปิดกั้นก็จะแผ่ออกมาได้สะดวกยิ่งขึ้น (การมีเศษไอร้อนคงค้างในรูปของรังสีนั้นเป็นเรืองปกติของโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ พี่เองเคยไปดูโรงงานนิวเคลียร์ที่เวียดนาม ก่อนออกจากตัวอาคารก็ต้องผ่านเครื่องวัดระดับกัมมันตรังสีเหมือนกันค่ะ )
อย่างไรก็ตาม เท่าที่อ่านมา รังสีจะแผ่ออกมาในลักษณะวงกลม กว้างออกในรูปของวงกลมที่ออกจากฐานไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ฟุ้งกระจายไร้ทิศทางเหมือนก๊าซ เพราะก๊าซมีมวลที่เบากว่า
นี่คือที่หาข้อมูลมาได้ แบบก็ไม่ได้หาอะไรจริงจังสืบค้นอะไรมากนัก ดูเฉพาะเรื่องหลักๆ
เมื่อพลังงานจากธรรมชาติร่อยหรอ ในขณะที่ประชากรโลกมากขึ้น ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนมีเพิ่มขึ้น วันหนึ่งคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องนำนิวเคลียร์มาใช้ผลิตไฟฟ้าในบ้านเรา เหมือนกับที่ในเวียดนามเค้าใช้อยู่ ซึ่งถ้ามีปัญหาแบบญี่ปุ่นแล้วแผ่รังสีออกมา เราก็ไม่รอดเพราะใกล้กว่าเยอะเลย มองลงไปทางใต้ มาเลเซียใช้ทั้งก๊าซและนิวเคลียร์ มีปัญหาขึ้นมาเราก็คงไม่รอดเหมือนกัน ตอนนี้คงอาจต้องเปรียบเทียบน้ำหนักว่าจะเลือกเสียงแบบมีพลังงานใช้ หรือเสี่ยงแบบไม่มีพลังงานใช้ ทุกวันนี้เราก็ไม่มีพลังงานพอใช้หรอกนะ ซื้อไฟฟ้าจากลาวปีละเท่าไหร่ลองไปหาข้อมูลดู รู้แล้วจะตกใจเลยล่ะ
แต่ถ้าถามว่าแล้วอยากให้มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองไทยไหม บอกตรงๆ คือ ถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆ ก็อย่าเพิ่งเลย ไม่มั่นใจว่าการสร้างเตาปฏิกรณ์+โดมครอบเตา+ระบบป้องกันภัยต่างๆ จะได้มาตรฐานหรือเปล่า กลัวจะมีการโกงกินจนเสป็คลดลง ( อันนี้ไม่เกี่ยวกับสีนะ เพราะไม่ว่าใครฝ่ายไหนจะมาเป็นรัฐบาลก็ไม่ไว้ใจทั้งนั้น เชื่อว่าการโกงกินคงยังไม่หมดไปจากเมืองไทยง่ายๆ) หรือแม้แต่มองในแง่ดีว่าทุกอย่างได้มาตรฐานหมด ก็ยังกลัวอยู่ดีว่าถ้าเกิดเหตุสุดวิสัยอย่างญีปุ่น ภาครัฐจะมีศักยภาพในการรับมือได้แค่ไหน เพราะที่ผ่านมาหลายๆ เรื่องที่เค้ากังวลกันทั้งโลก แต่พี่ไทยยังคงใจเย็นตัลหลอด
ญี่ปุ่น วางแผนรองรับเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบเชอร์โนบิลไว้แล้วค่ะ
เรียกว่าครอบคลุมทุกรอบด้าน เพียงแต่ว่า เขาคาดไม่ถึงว่า ความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะมากถึงเกือบ 9 ริกเตอร์
และทำให้ระบบหล่อเลี้ยงพลังงานในโรงไฟฟ้าหยุดทำงาน
ลองดูลิงค์นี้ แล้วจะเข้าใจมากขึ่นค่ะ
เรียกว่าครอบคลุมทุกรอบด้าน เพียงแต่ว่า เขาคาดไม่ถึงว่า ความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะมากถึงเกือบ 9 ริกเตอร์
และทำให้ระบบหล่อเลี้ยงพลังงานในโรงไฟฟ้าหยุดทำงาน
ลองดูลิงค์นี้ แล้วจะเข้าใจมากขึ่นค่ะ
มิต้องวิตกกังวลไป
มันจะเจือจาง เรียกว่าจืดจางไปแล้ว กว่าจะถึงเมืองไทย
จากแหล่งข่าวไทยรัฐเค้าบอกไว้อะจ้า
ที่จะทำโปรเจคที่เสื่องภัยขนาดนี้ อย่าว่าแต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลยค่ะ แค่โรงงานอุตสาหกรรมธรรมดาที่มีอยู่ก็ยัง
จะควบคุมไม่ให้ปล่อยสารพิษออกมารบกวนชาวบ้านตาดำๆไม่ได้เลย