***สาวๆ พวกเรามาออมเงินกันเถอะ*** ตอน 2
ฝน94ตั้งใจว่าจะมาเขียงเมื่อวาน แต่ดัน เป็นไมเกรนซ่ะงั้น...........
ไม่เป็นไร มาช้า ยังดีกว่าไม่มา (ใครรอ....)
ครั้งที่แล้ว ฝนมาชวนสาวๆออมเงินไปแล้ว ตามอ่านได้ที่ http://www.jeban.com/viewtopic.php?t=153295
ฝนได้ซื้อหนังสือ ตามที่คุณกุ๊ดจัง แนะนำ 1 เล่ม
ทาดาาาา
ชื่อว่า ทำไงดี อยากมีตังค์เก็บเยอะๆ เรื่องนี้เป็นหนังสือแปลนะคะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ คนเขียนเล่มนี้ ตกมจว่า ทำไมตัวเองอายุ 30 ไปแล้ว แต่ยังไม่มีเงินเก็บ แถมบางเดือน ไม่มีเงินติดในบัญชีธนาคารเลย..................
เป็นการ์ตูน อ่านสนุก เข้าใจง่าย (แต่ยากที่จะทำตาม) ว่าป่ะ 555
พอฝนอ่านซ้ำๆไปมาๆ ก็เกิดแรงฮึด เอาหว่ะ เรียนจบ ทำงานมาครบปีแล้ว เงินเก็บมีแต่ในรูปสลากออมสิน..........(ถอดก่อนกำหนดขาดทุนพร้อม)
เลยประกาศก้อง ฉันจะได้ ผอม สวย และรวยมาก 5555555
**** สาวๆลองหามาอ่านดูแล้วกัน ไม่เล่าหมด เดียวหาว่าสปอย****
ฝนจะเอามาปรับใช้ ให้เข้ากับการเงินตัวเองมากที่สุด
1. เก็บเงินเหรียญ (ฝนจะเก็บแบงค์ยี่สิบแทนล่ะกัน)
เมื่อออกบ้าน แล้วมีกิจกรรมจ่ายเงินซื้อของ จะต้องมีเงินมาหยอดกระปุก เมื่อครบเดือน เอาออกไปแลก ไปฝากเข้าธนาคารที่เราไม่ควรมีบัตร ATM เพราะอะไรรู้กันดี และไม่ควร เอาไว้ในบ้านนานไปเกิน เพราะ เดี๋ยวเอามาใช้แน่นอน
2. ก็ทำบัญชี รายรับ ราบจ่าย ไง ตัวเธอ (รู้ดี แต่ไม่ทำ)
เดือนนี้ ตั้งใจว่า ฉันจะ เขียน จด ทุกวัน แม้ว่าวันไหน ไม่ได้ออกบ้าน เพื่อจะได้ ชิน และติดเป็นนิสัย ที่ต้องเขียนเพราะ พอสิ้นเดือน เรามาดูกันว่า เราซื้ออะไร ไปเท่าไหร่ แล้วจัดเป็นประเภท เช่น ค่ากิน ค่าทำงาน ค่าเดินทาง ค่าน้ำไฟ อะไรแบบนี้
เชื่อว่า เมื่อทำไปแล้ว มีหงายเงิบ กับค่า เสื้อผ้าหน้าผม เรื่องกิน แน่นอนเลยยยยยยย
3. แตกมาจากข้อ 2 เอามาตัด ลด ละ เลิก กำหนดค่าใช้จ่ายไปเลย แต่ละประเภท ไปเลย โลด อันไหนควรจะเท่าไหร่ต่อเดือน แล้วดูว่า ที่เรากำหนดไว้นั้น มากน้อยเกินไปไหม แล้ว ทำให้มัน สมบูรณ์
เหนื่อยไหม ท่อง ผอม สวย และรวยมากกกกกกกกกกกกกกกกกก (มีแรงทันที)
4. เรามาเริ่ม บรรทัดแรก บัญชี รายรับ รายจ่าย เหมือนกันเถอะ
คือ
เงินเดือน - เงินออม - ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายประจำทุกเดือน = เงินที่เหลือ
ทำให้เรา เห็นทันทีว่า เฮ๊ย เงินเดือนออกแล้ว ฉันมีใช้แค่นี้ ฉันต้องประหยัดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
อย่าลืมว่า
อย่าเครียด อย่ากดกัด อย่าทำร้ายจิตใจตัวเอง จนเกินไป
เพราะสุดท้าย สติแตก = ถังแตก ที่ทำมาจบกัน
เดินทางสายกลาง ไม่ตึง ไม่หยอน ให้รางวัลกับตัวเองบ้าง(อย่าเยอะเกินไป)
สู้ๆ
ท่องอีกรอบ
ฉัน ผอม สวย และรวยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
เจอกัน สิ้นเดือนนะคะ
ฝนจะเอารายรับ-รายจ่าย มาแฉ
Discussion (4)
1. สะสมเหรียญเหมือนกันค่ะ แยกเป็นกระปุก ๆ เลย เหรียญ 5 10 2 และ 1 บาท บางทีก็ใส่แบงค์ร้อย แบงค์พัน เงินพิเศษที่บังเอิญได้มา พอครบปีก็เอาไปซื้อสลากออมสิน กองทุนบ้างอะไรบ้าง ก็ได้เป็นหลักหมื่นอัพเลยน้า
2. ส่วนชีวิตประจำวันจะลง app สำหรับบันทึกรายรับรายจ่าย ทั้งในส่วนของเงินสดและบัตรเครดิต ซึ่งจะแจกแจงออกมาเป็นกราฟ ให้เราเห็นเลยว่าแต่ละเดือนเราใช้เงินหมดไปกับอะไรไปมากที่สุด และสามารถตั้ง set ค่า budget ได้ ทำให้เราบริหารเงินและบัตรได้
3. เล่นแชร์ อันนี้หม่าม๊าเป็นคนดูแลให้ ส่วนใหญ่จะรอเป็นมือท้าย ๆ จะได้เงินเป็นก้อนเลย พอได้เงินมาจะรอดูจังหวะที่ราคาทองลง ก็จะเอาเงินส่วนนี้ไปซื้อทองเก็บไว้
4. มีบัญชีสำหรับไปเที่ยว เงินเดือนออกจะแบ่งเงินนิดหน่อย ไปใส่บัญชีนี้ไว้เลย สำหรับเวลาไปเที่ยวหรือใช้สำหรับซื้อของติ๊งต๊อง ไร้สาระ แต่อยากได้เอาไว้เลย
5. มีกระปุกสำหรับทำบุญ จะยอดแบงค์ 20 เป็นประจำทุกวันสำหรับกันไว้เป็นเงินทำบุญ เวลามีซองมา ไม่ว่างานอะไรก็เอาเงินส่วนนี้ไปทำบุญ ตอนนี้ทุก ๆ เดือนจะโอนเงินส่วนนี้ไปให้สถานที่ปฏิธรรมแห่งหนึ่งเป็นช่วยสงเคราะห์ค่าอาหาร ไฟฟ้า พาหนะ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม
ทุกวันนี้ก็เก็บอยู่ ซึ่งไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่ายนะ แล้วก็ไม่ได้มีจินตนาการ 'ผอม สวย รวย' อย่างจขกท. เพราะคงไม่ทันแล้วโดยเฉพาะเรื่องผอม หุหุ
แต่มีวิธีเก็บก็คือ
1. เมื่อเงินเดือนออก รีบโอนเงินส่วนที่จะออมไปเข้าบัญชีเงินออมที่เป็นบัญชีหลักทันที จะโอนเท่าไหร่นั้น กำหนดขั้นต่ำไว้ ตอนนี้กำหนดที่เดือนละ 10,000 บาท แต่ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่ที่ว่าเดือนนั้นจะมีรายจ่ายอะไรพิเศษหรือไม่ รายจ่ายพิเศษตรงนี้ไม่ใช่การช็อปปิ้ง แต่เป็นพวกค่าประกันชีวิตรายปีหรือรายจ่ายจำเป็นก้อนใหญ่ๆ ที่บังเอิญมาครบกำหนดพอดีในเดือนนั้น ถ้าไม่มีเงินเรียกเก็บรายปีอะไรก็เก็บเต็มจำนวนเข้าไปเลย และบัญชีเงินออมหลักนี่จะไม่มี ATM
2. ยังไงก็ต้องมีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้แบบไม่อึดอัด ไม่ลงแดง เพราะเป็นคนชอบช็อปปิ้งในระดับหนึ่ง แต่ก็พยายามควบคุมด้วยการเห็นอะไรแล้วถูกใจจะยังไม่ซื้อทันที เดินผ่านไปก่อน หรือบางทีก็ปล่อยเวลาผ่านไปก่อน บางทีมันจะคิดได้ว่าที่แท้เราก็ไม่ได้ต้องการมันจริงๆ หรอก หรือบางทีกลับมาคิดซ้ำแล้วนึกได้ว่ามีของประเภทเดียวกันอยู่เยอะแล้ว ก็ช่วยได้บ้างนะ แต่ที่ตบะแตกกลับไปซื้อก็มี อิอิ
3. ไม่สร้างหนี้หรือภาระผูกพันที่ไม่จำเป็น เช่น การกู้ยืมไม่ทำเลย การซื้อของเงินผ่อนไม่ทำเลย ส่วนรูดบัตรเครดิตยังรูดอยู่แต่ก็จะคอยบวกคร่าวๆ ไว้ในใจเป็นระยะ ถ้าเห็นว่าจะเป็นภาระหนักเดือนต่อไปก็ไม่รูด จ่ายเงินสดแทนจะได้ระวังตัว (เพราะมันเห็นๆ ไงว่าควักเงินออกจากกระเป๋าไป) แล้วเวลาใบเรียกเก็บเงินบัตรเครดิตมาก็จะไปจ่ายเต็มจำนวนเพื่อไม่ให้เสียดอกเบี้ย
4. นอกจากบัญชีเงินออมหลักในข้อ 1. ยังมีบัญชีเงินออมสำรองอีกหนึ่งบัญชี จะเอาเงินเข้าก็ต่อเมื่อมีเงินเหลือจากการใช้ในแต่ละเดือนแล้ว คือ ออมเบื้องต้นแล้ว ใช้กินใช้ช็อปใช้ทำบุญทำทานแล้ว ถ้ายังเหลืออีกก็เข้าบัญชีนี้แหละ แต่ก็มีกฎเกณฑ์เพื่อไม่ให้ผัดผ่อนอยู่นิดหนึ่งนะ (ไม่งั้นจะรู้สึกว่าไม่ต้องเก็บส่วนนี้ก็ได้) คือ สำหรับบัญชีนี้ ถ้าในระยะสามเดือนยังไม่สามารถจัดการการเงินให้มีเหลือเก็บใส่เข้าไปได้ ก็จะบังคับใส่เลย 5000 บาท
5..ทำเงินบางส่วนให้เป็นอะไรที่นำไปใช้แบบเงินได้ยากขึ้น เช่น ซื้อสลากออมสิน (ลืมไปเลยสามปี) หรือไม่ก็เวลาเดินทางไปราชการต่างประเทศแล้วต้องแลกเงินไป พอกลับมาถ้าเงินเหลือจะเก็บไว้อย่างนั้นโดยไม่แลกคืน
6..เงินทำบุญทำทานอาศัยกันไว้เวลาได้รับเงินทอนเป็นแบ๊งค์ยี่สิบ ห้าสิบ หรือแบ๊งค์ร้อยใหม่ๆ จะเอามาเรียงใส่กล่องไว้ค่ะ พอจะไปทำบุญก็เอาจากกล่องใส่ซองติดตัวไป ทำให้ไม่รู้สึกเหมือนต้องควักกระเป๋าเพิ่มเติมจากเงินที่ใช้อยู่
7. อะไรที่จ่ายเงินออกไปเฉยๆ แล้วไม่ได้อะไรกลับมา หรือมีแนวโน้มจะเสียมากกว่าได้ เช่น ซื้อหวย/ล็อตเตอรี่ หรือ เล่นการพนัน ไม่ทำเด็ดขาด
ก็คิดว่าเก็บอยู่พอสมควรค่ะ แต่ก็ยังไม่เยอะหรอกเพราะเพิ่งคิดได้+เริ่มทำเมื่อสองปีกว่าๆ ที่แล้วนี่เอง
ไปสอยหนังสือตามมาแล้วค่ะ หนังสือน่ารักมากกกกกกกก
ตอนนี้เริ่มปฏิบัติการเคลียร์หนี้เก่าให้สิ้นซาก ไม่ใช้บัตรเครดิต เก็บเหรียญและแบงค์ 50 อยู่ค่ะ!