รบกวนผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายช่วยหน่อยนะคะ

พี่ๆคะ
คือว่าเบลล์ต้องเขียนความเรียงอะคะ
ในหัวข้อที่ว่า
ถ้าคนที่ไม่ได้เป็นคนไทยแล้วถูกจับ ถูกคุมขัง เราจะมีข้ออ้างที่จะช่วยได้อย่างไร และช่องทางใดบ้าง?

ขอแบบความรู้ด้านกฎหมายเบื้อต้นนะคะ เพราะเบลล์เรียนแค่รู้อะคะ ไม่ได้เรียนคณะนิติค่า
มาแก้ไขนะคะ อาจารย์บอกว่า สองกรณีเลยคะ ทำความผิด กับไม่ด้ทำอะไรเลยแล้วอยู่ถูกจับไปอะคะ เราจะช่วยเค้าได้ยังไงบ้าง ประมาณนี้อะค่า


เบลล์ขอบคุณคนที่ตอบไว้ล่วงหน้าเลยนะคะ
ขอให้สวยๆรวยๆขึ้นทุกวันๆ มีแต่ความสุขนะค้า
ที่ช่วยเด็กตาดำๆคนนี้

คือเบลล์เขียนแล้วมันได้นิดเดียวเองอะคะ อยากได้เยอะๆ อะคะ
เลยมาขอสาวๆจีบันช่วยหน่อย
ขอบคุณค่า^_____________^

Discussion (5)

ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
ตอนนี้ยังมึนอีกสองข้อคะ
-*-
ไม่ได้เรียนคณะนิติด้วยอะคะ

หากเป็นกรณีทำผิดก็ต้องไปดูว่า -ความผิดนั้นหมดอายุความไปหรือยัง ถ้าหมดอายุความแล้วตำรวจไม่มีสิทธิจับหรือคุมขัง -ต้องไปดูว่ากฎหมายที่ตำรวจใช้อ้างขณะที่จับกุมนั้นเป็นกฎหมายที่ยังใช้อยู่ในขณะกระทำความผิดหรือเปล่า : ถ้าเป็นกฎหมายที่เลิกใช้ไปแล้วก่อนกระทำความผิด หรือเป็นกฎหมายที่ออกภายหลังกระทำความผิด เช่นนี้บุคคลนั้นก็ไม่สามารถถูกจับกุมหรือคุมขังได้ เพราะจะมีความรับผิดทางกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายใช้บังคับในขณะกระทำความผิด -หากไม่ได้กระทำผิดในไทยแล้วประเทศที่ผู้นั้นไปกระทำความผิดไว้ไม่ได้ร้องขอ และไม่ได้เป็นความผิดตามที่กฎหมายไทยกำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นความผิดในไทย เช่นนี้แล้วตำรวจก็ไม่มีสิทธิดำเนินการ หากเป็นกรณีที่ไม่ได้กระทำความผิดเช่นนี้ตำรวจก็ไม่สามารถจับกุมหรือคุมขังได้อยู่แล้ว เพียงแต่อาจต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงต่อตำรวจว่าตนไม่ใช่ผู้กระทำความผิด เช่น นำพยานเอกสารมาแสดงว่าตนไม่ได้อยู่ในขณะที่เกิดเหตุ (passport)หรือนำพยานบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือมาเป็นพยานว่าตนไม่ได้อยู่ที่เกิดเหตุ ตอนนี้นึกออกประมาณนี้ค่ะ ลองดูแล้วกัน

ตมคห.1 เลยค่ะ แต่คำถามไม่เคลียร์จริงๆ ค่ะว่า คนสัญชาติอื่นนั้นกระทำอะไร ทำไมจึงถูกจับได้

แล้วก็ ถ้าผู้กระทำความผิดโดนลงโทษแล้วในความผิดฐานเดียวกันนี้ ก็จะพ้นโทษค่ะ เพราะผู้กระทำผิดจะไม่ถูกลงโทษ 2ครั้งจากการกระทำความผิดครั้งเดียว

 

ตามคำถามไม่ชัดว่าคนต่างชาตินั้นกระทำความผิดในราชอาณาจักรไทยหรือเปล่า ? 1.คนต่างชาติที่จะถูกจับกุมหรือคุมขังในประเทศไทยได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่ให้อำนาจในการควบคุมหรือคุมขังผู้กระทำความผิดไว้ 2.หากเป็นกรณีทีคนต่างชาติเข้ามากระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือถือว่าได้กระทำความผิดในราชอาณาจักรแล้วหลบหนีออกนอกประเทศต่อมารัฐบาลไทยได้ร้องขอให้ลงโทษผู้นั้นในศาลของต่างประเทศ แล้วศาลต่างประเทศได้พิพากษาให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือได้ถูกลงโทษโดยศาลต่างประเทศแล้วพ้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 11 3.หากเป็นการกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรแต่ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย เช่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7 แต่ก็มีข้อยกเว้นให้บุคคลนั้นไม่ต้องรับโทษในประเทศไทยอีกหากเข้ากรณีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 10 หากเป็นกรณีตามข้อ 2-3 เจ้าหน้าตำรวจก็ไม่มีสิทธิจับกุม หรือคุมขัง 4.ตามกฎหมายอาญาได้แบ่งความผิดเป็น 2 ประเภท คือ ความผิดส่วนตัว กับความผิดต่อแผ่นดิน หากเป็นความผิดส่วนตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีอำนาจจับกุมได้ต้องให้ผู้เสียหายหรือบุคคลอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้ที่กระทำแทนผู้เสียหายได้ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 4-6 ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานก่อน เพราะฉะนั้นหากไม่ใช้ผู้เสียหายและบุคคลดังกล่าวร้องทุกข์เจ้าพนักงาน หรือไม่มีการร้องทุกข์ของบุคคลดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจดำเนินคดีดังกล่าว หากเป็นความผิดต่อแผ่นดินเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์ 5.การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะจับกุมผู้กระทำความผิดได้แบ่งออกเป็น 2 กรณี -หากเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมได้ทันที -หากเป็นความผิดไม่ซึ่งหน้า การจะจับกุมได้ต้องมีการออกหมายเรียกก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 52 หากมีการขัดขืนไม่มาพบตามหมายเรียกก็จะต้องทำการออกหมายจับโดยศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 เพราะฉะนั้นหากไม่ดำเนินการตามขั้นตอนก็เท่ากับฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่รู้ว่าคำตอบข้างบนจะพอช่วยได้หรือเปล่านะยังไงก็ลองดู ส่วนรายละเอียดของฏำหมายที่บอกไว้ให้ลองไปดูที่ www.krisdika.go.th