Review Contact Lens : ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอนแทคเลนส์

สวัสดีค๊า สาวๆหนุ่ม ๆ มาคราวนี้จะมาขอพูดถึงเรื่องมีสาระ ซึ่งอาจจะเนื้อหายาวหน่อย แต่มีประโยชน์น๊า
รีวิวนี้จะขอแบ่งเป็นตอนๆนะคะ เพราะจะมาสาระอย่างเดียวหมดมันก็จะวิชาการไป แต่ตอนต่อๆไปก็ขอเป็นการริวิวความสวยงามของคอนแทคแต่ละสีบ้าง


ยุคนี้ อารมณ์นี้ใครใส่คอนแทคเลนส์ไม่เป็นถือว่าหาได้น้อยมาก
แถมตอนนี้ก็มีออกมาซะหลากหลายยี่ห้อ
มดจึงมาขอตอกย้ำ ให้ความรู้ สาระเกี่ยวกับเรื่องนี้กันดีกว่า  เพราะอะไรหน่ะหรอ อิช้านนผ่านมาแล้วคร๊า กับการใส่คอนแทคแบบไม่สะอาด และคอนแทคที่ไม่เข้ากับตัวเอง แบบว่าใหญ่ไป ค่าอมน้ำน้อยไป ซึ่งปกติแล้ว ตัวเองก็เป็นคนตาแห้งอยู่แล้ว เนื่องจากนอนน้อย 

สภาพในชีวิตประจำวันของมดไม่ได้ใส่คอนแทคตลอด เพราะสายตาไม่ได้มีปัญหาอะไร จะใส่ก็ตอนถ่ายรูป
แต่ช่วงนั้นออกงานบ่อย(แลดูชีวิตเป็นเซเลปเนอะ 55) เลยใส่แทบทุกวัน
แต่ใส่แบบเดี๋ยวถอด เดี๋ยวใส่ ยอมรับเลยไม่สะอาด เพราะสถานที่บางที่ที่ไปก็ไม่มีเวลาเอาน้ำมาล้างมือ 
ผลเป็นงัยหน่ะหรอ
สภาพเลยออกมาเป็นแบบนี้






รูปนี้ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือนะคะ อาจจะไม่ชัดมดไม่เคยเป็นแบบนี้ ตาแดงมากกก ปวดตา
ช่วงนั้นเลยต้องหยุดใส่คอนแทคเลนส์ไปเลย 
 
 
ความรู้เบื้องต้นของคอนแทคเลนส์คะ
ประเภทของคอนแทคเลนส์
แบ่งตามเนื้อวัสดุที่นำมาใช้ผลิต ดังนี้
1.คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง ที่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ (Rigid Gas Permeableหรือ RGP Contact Lenses) ทำจากวัสดุพลาสติกชนิดพิเศษที่สามารถทำให้ออกซิเจนจากอากาศซึมผ่านตัวเลนส์ไปสู่กระจกตาได้ในปริมาณสูงจะทำให้เห็นภาพชัด ละเอียดขึ้น มีราคาถูกกว่าชนิดนิ่ม เนื่องจากใช้ได้นานกว่าและจะมีความคงทนต่อการเกิดรอยขูดขีดและเกาะติดของคราบมากกว่า แต่ในระยะแรกจะรู้สึกไม่สะดวกสบายในการสวมใส่เท่ากับชนิดนิ่ม ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยในการสวมใส่ 2.คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม (Soft Contact Lenses) ทำจากแผ่นพลาสติกจำเพาะอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะนิ่ม บิดงอได้ ซึ่งเป็นผลให้ออกซิเจนสามารถผ่านเข้ากระจกตาได้ มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำสูงกว่าชนิดแข็ง คอนแทคเลนส์ชนิดนี้ใช้ง่าย และสะดวกสบายกว่าชนิดแข็ง ปัจจุบันมีการนำวัสดุประเภทซิลิโคน ไฮโดรเยล (Silicone hydrogels)มาใช้ เพื่อให้ออกซิเจนผ่านเข้าสู่ตามากขึ้นในขณะที่สวมใส่อยู่ คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มสามารถแบ่งตามรูปแบบการใช้งานได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1)คอนแทคเลนส์รายวัน - ใส่ ถอด และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ใหม่ทุกวัน
2)คอนแทคเลนส์รายสัปดาห์ - ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ใหม่ทุก 1-2 สัปดาห์
3)คอนแทคเลนส์รายเดือน - ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ใหม่ทุก 1 เดือน
4)คอนแทคเลนส์รายปี - ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ใหม่ทุกปี ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ เนื่องจากการดูแลทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ค่อนข้างยุ่งยากและต้องเข้มงวดกว่า 3 แบบแรก
5)คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ต่อเนื่อง - ใส่ต่อเนื่องเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ จากนั้นจึงเปลี่ยนใหม่ ซึ่งโดยปกติไม่แนะนำการใช้คอนแทคเลนส์รูปแบบนี้ เนื่องจากพบอัตราการติดเชื้อที่กระจกตาได้สูงกว่าการใช้แบบใส่และถอดออกทุก วันอย่างมาก

ภาวะผิดปกติหรือโรคที่อาจเกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์
1.อาการตาแห้ง ซึ่งเกิดจากการแพ้ พบในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์นาน 2-3 ปี นอกจากนี้การใส่คอนแทคเลนส์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณภาพของน้ำตาเปลี่ยนแปลงไปทำให้การไหลเวียนของน้ำตาที่กระจกตาลดลง
2.การอักเสบของกระจกตาและเยื่อบุตา จะพบมีเยื่อบุตาแดงเคืองตาขี้ตาเหนียวน้ำตามีเศษโปรตีนหรือมีเศษโปรตีนติดที่คอนแทคเลนส์มีการเลื่อนตำแหน่งของคอนแทคเลนส์จากกระจกตาอย่างมากซึ่งทำให้เกิดภาพมัว
3.การเกิดตุ่มอักเสบที่เปลือกตาด้านใน พบมากในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม เกิดจากการระคายเคือง อาการที่เกิดคือ ภาวะหนังตาตก ตาแดง ระคายเคือง มีการสร้างสารจำพวกโปรตีนที่ละลายได้ มองภาพไม่ชัด มีน้ำตา ตาไม่สู้แสง 4.การอักเสบที่เยื่อบุผิวของกระจกตา ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ เนื่องจากเกิดบาดแผลหรือการช้ำที่เยื่อตา ตาแห้ง มีอาการแพ้ หรือขาดออกซิเจน ซึ่งแผลจุดเล็กๆอาจมารวมกันเข้าเป็นบริเวณใหญ่และเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็นอันตรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหยุดการใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าแผลจะหายเสียก่อน 5.การติดเชื้อที่กระจกตา เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ที่เป็นอันตรายที่สุด เนื่องจากอาจส่งผลให้ตาบอดถาวรได้ สาเหตุเป็นได้ทั้งจากตัวผู้ใช้เอง น้ำยาที่ใช้กับเลนส์ หรือภาชนะบรรจุเลนส์ จากการศึกษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า ในกลุ่มผู้ใช้คอนแทคเลนส์ที่มีอาการติดเชื้อที่กระจกตา มีสูงถึง 67 เปอร์เซ็นต์ที่มีประวัติการใส่เลนส์ขณะนอนหลับในเวลากลางคืน 34 เปอร์เซ็นต์พบว่าขั้นตอนในการดูแลรักษาเลนส์สัมผัสไม่ได้มาตรฐาน และชนิดของคอนแทคเลนส์ที่พบว่ามีการใช้มากที่สุดเป็นแบบนิ่มชนิดเปลี่ยนเป็นระยะ ส่วนการศึกษาในต่างประเทศพบว่า ความเสี่ยงในการติดเชื้อที่กระจกตาของผู้ที่ใส่เลนส์ข้ามคืนสูงถึง 5.4 เท่า ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ชนิดใดก็ตาม และแม้ว่าความเสี่ยงในการติดเชื้อจะไม่ลดลงในการใช้คอนแทคเลนส์แบบนิ่มชนิดเปลี่ยนทุกวันและซิลิโคน ไฮโดรเยล แต่ความเสี่ยงในการสูญเสียของสายตาของกลุ่มคอนแทคเลนส์แบบนิ่มชนิดเปลี่ยนทุกวันมีน้อยกว่าชนิดเปลี่ยนเป็นระยะ นอกจากนี้หลายการศึกษาในต่างประเทศพบว่า การเกิดภาวะผิดปกติหรือโรคเหล่านี้มักเกิดในผู้ใช้ที่ซื้อคอนแทคเลนส์จากแหล่งที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำการใช้ที่ถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นการเลือกซื้อคอนแทคเลนส์จึงถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน
สิ่งที่ผู้บริโภคควรสังเกตก่อนตัดสินใจซื้อคอนแทคเลนส์ บนฉลากของบรรจุภัณฑ์ ได้แก่
1.ชื่อคอนแทคเลนส์และวัสดุที่ใช้ผลิตคอนแทคเลนส์
2.พารามิเตอร์ของคอนแทคเลนส์ (contact lens parameter) เช่น กำลังหักเห ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง รัศมีความโค้ง เป็นต้น
3.ระยะเวลาการใช้งาน ยกเว้นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็งที่ไม่กำหนดระยะเวลาการใช้งาน มีการระบุเดือน ปีที่หมดอายุ โดยสังเกตที่คำว่า “หมดอายุ” หรือ “ต้องใช้ก่อน” หรือข้อความ “เดือนปีที่หมดอายุให้ดูที่” แล้วตามด้วยคำภาษาอังกฤษหรือสัญลักษณ์ที่ระบุเดือนปีที่หมดอายุบนภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุ
4.เลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ส่วนเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ต้องเป็นภาษาไทยที่อ่านได้ชัดเจน
ข้อห้ามในการใช้คอนแทคเลนส์
1.ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับบุคคลอื่น
2.ห้ามใส่คอนแทคเลนส์เกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด
3.ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ถ้าภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพชำรุดหรือถูกเปิดก่อนใช้งาน
ข้อควรระวังในการใช้คอนแทคเลนส์
1.การใช้คอนแทคเลนส์ควรได้รับการสั่งใช้และตรวจติดตามทุกปีโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น
2.ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์
3.ควรใช้น้ำยาล้างเลนส์สัมผัสที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับเลนส์สัมผัสทุกครั้งที่แช่เลนส์สัมผัส และแม้ไม่ใส่เลนส์สัมผัส ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน
4.ควรเปลี่ยนตลับใส่คอนแทคเลนส์ทุกสามเดือน
5.ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์
6.ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม
7.ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้
8. หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัว น้ำตาไหลมากหรือตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
 
โดย ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 


ต่อไปเรามาดูกันอย่างง่ายๆดีกว่าว่าค่าบนขวดคอนแทคเลนส์
มีความหมายยังไงบ้าง จะดูได้จากตรงไหน

 

 




 
1.ค่าอมน้ำ (Water Content) = ปริมาณน้ำในตัวคอนแทคเลนส์ หรือปริมาณน้ำที่มันจะอมไว้ได้น่ะค่ะ ถ้ามีค่าอมน้ำสูง ออกซิเจนก็จะไหลผ่านได้ดี ทำให้ใส่แล้วสบายตา 
2.Base Curve (BC.) ความโค้ง = โดยทั่วไป BC จะอยู่ที่ประมาณ 8.4 -8.8 ค่ะ ถ้าใส่เลนส์แล้วหลวมไป ต้องเปลี่ยนไปใส่เลนส์ที่มี BC น้อยลงค่ะ แต่ถ้าใส่แล้วเลนส์คับไปก็ต้องไปเลือกใส่คอนแทคเลนส์ที่มีค่า BC มากขึ้น
3.Diameter เส้นผ่านศูนย์กลางความกว้าง = ตัวนี้จะบอกความใหญ่ของคอนแทคเลนส์ค่ะ ยิ่งมากก็ยิ่งวงใหญ่มาก แต่ะไม่ได้หมายความว่าใส่แล้วจะตาโตกว่าเสมอไป เพราะการดูขนาดความโต เราต้องวัดกันที่ลาย (EFF )ไม่ใช่ที่ตัวเลนส์ค่ะ
4.EXP วันหมดอายุ = คอนแทคเลนส์ที่ยังไม่ได้เปิดขวด จะสามารถเก็บไว้ได้ตามปีที่ระบุค่ะ


 

เดี๋ยวตอนหน้าขอมารีวิวคอนแทคเลนส์สีสวยๆที่มีในกรุบ้างน๊า
 

Discussion (1)

เหมือนเราเคยอ่านเจอว่าค่าอมน้ำยิ่งสูงยิ่งไม่ดี มันจะดูดน้ำจากตาเรา ทำให้ตาแห้ง ยังไงลองหาข้อมูลดูนะคะ