เลือกโรลออน ยังไงดีน้า มาดูกัน!
jrsweet1745สวัสดีค่าสาวๆ วันนี้จะมาแนะนำเรื่องโรลออน หรือ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นใต้วงแขนค่า
เรื่องมีอยู่ว่า เราไปเลเซอร์รักแร้ เพราะไม่อยากให้มีขนขึ้นและ มีรักแร้เนียน ไม่ดำ แล้วก็ได้ยินคำแนะนำเรื่องการใช้โรลออนจากหลายๆคนมาว่า ถ้าไม่อยากเต่าดำต้องใช้โรลออนที่ ไม่มีแอลกอฮอล์ เราก็เลยพยายามจะหาโรลออนที่ไม่มีแอลกอฮอล์ แต่พอเห็น โรลออนตัวนึง เขียนว่า Aluminium Free เราก็สงสัยว่า มันจะต่างจากโลออนที่ Alcohol Free มั้ย ใช้แล้วจะเต่าไม่ดำเหมือนกันมั้ย เราก็ได้รับคำตอบมาว่า โรลออนทีมีสาร aluminium นี่อันตรายกว่า โรลออนที่มีแอลกอฮอล์อีกนะ!! แล้วโรลออนที่เขียนว่า alcohol free มักจะมี aluminium ผสมอยู่ (เท่าที่เช็คดูจากหบายยี่ห้อ) แต่ถ้าเป็นโรลออนที่เขียนว่า alcohol free กลับมี aluminium ผสมอยู่ เราก็เลยเกิดความลังเลว่า จะเลือกอันไหนดีหล่ะทีนี้? ก็เลยไปหาข้อมูลในอินเตอร์เนตเพิ่มเติม ซึ่งพออ่านดูจากในหลายๆเว็บไซต์ก็พบว่า โรลออนที่มีอลูมิเนียมอยู่นั้น มีส่วนเป็นสารก่อมะเร็งได้ และเป็นส่วนทำให้เต่าดำจริงๆ++เราขอยกข้อมูลที่เราไปเจอมาเว็บนึงมาให้ดูกันค่ะ
"ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายมีให้เลือกหลายรูปแบบ โดยหลัก ๆ จะเป็นผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ ซึ่งจะมีตัวยาช่วยระงับไม่ให้น้ำเหงื่อไหลออกมาได้ มีชื่อเคมีคือ อลูมิเนียมคลอไฮเดรท ความเข้มข้นที่ใช้ประมาณ 30-50%
รูปแบบของผลิตภัณฑ์มักจะเป็นโรลออน (Roll On) กลไกการระงับเหงื่อของสารดังกล่าวคือสารอลูมิเนียมจะไปอุดรูขุมขนเพื่อมิให้น้ำเหงื่อไหลออกได้นั่นเอง ซึ่งเกลืออลูมิเนียมอาจรวมตัวกับน้ำเหงื่อและเชื้อจุลินทรีย์และแทรกตัวอุดตันรูขุมขน หากมีการใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำและบ่อย จะมีผลทำให้เกิดการสะสมและตกค้างของสารอลูมิเนียมบริเวณใต้วงแขนมาก ทำให้เห็นเป็นรอยด่างดำ
ดังนั้นการโฆษณาชวนเชื่อในสินค้าเหล่านี้ในช่วงหลัง จะมีการผสมสารทำให้ขาว "ไวท์เทนนิ่ง" ซึ่งทำให้เด็กวัยรุ่นฮือฮามาก ความจริงผิวหนังบริเวณใต้วงแขนนั้นไม่ได้รับแสงแดดและผิวหนังไม่มีโอกาสสร้างพิกเม้นท์หรือเม็ดสีให้ผิวหนังเลย ที่เห็นเป็นความคล้ำดำเพราะสารตกค้างของเกลืออลูมิเนียมนั่นเอง
จากการวิจัยล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบสิ่งที่น่าตกใจโดยพบว่าสารตกค้างเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยกับสาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมในสตรีเพศ เนื่องจากท่อและต่อมต่าง ๆ ของบริเวณเต้านมมีส่วนเชื่อมต่อกับต่อมเหงื่อและรูขุมขนใต้วงแขน ดังนั้นสารตกค้างที่สะสมมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกลือโลหะหนัก อลูมิเนียม หรือ ซิงค์ จะไปจับกับ "ดีเอนเอ DNA" ของเซลล์ก่อให้เกิดความผิดปกติขึ้น และมีการตรวจพบสารตกค้างของอลูมิเนียมในเนื้อเยื่อจากเต้านมคนไข้"เขียนโดย รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
สรุปก็คือ อลูมิเนียมจะเป็นตัวไปอุดรูขุมขนให้เหงื่อไม่ไหล ซึ่งนั้นทำให้เกิดสารตกค้าง และทำให้ใต้วงแขนมีสีคล้ำอีกด้วย
สุดท้ายนี้สิ่งที่เราอยากจะบอกก็คือว่า บางทีที่เราไปซื้อโรลออนที่เขียนว่า alcohol free แต่มี aluminum ผสมอยู่ นั้นไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่ แต่ควรจะซื้อโรลออนที่เขียนว่า Aluminum Free แต่มี alcohol ผสมอยู่ อาจจะดีกว่า วันนี้ขอฝากทิปส์เล็กๆไว้แค่นี้ค่า ไปก่อนน้า…
Discussion (5)
Aluminum toxicity[edit]
Aluminum is present most often in antiperspirants in the form of aluminum chlorohydrate.[22] Aluminum chlorohydrate is not the same as the compound aluminum chloride, which has been established as a neurotoxin.[28][29][30][31] At high doses, aluminum itself adversely affects the blood–brain barrier, is capable of causing DNA damage, and has adverse epigeneticeffects.[28][32]
Although research done on aluminium and its carcinogenic effects doesn't provide conclusive evidence, it is still considered a safe practice to use an non-aluminium deodorant, especially for pregnant women or cancer survivors.[33]
The Food and Drug Administration, in a monograph dedicated to analysing the safety of deodorants, concluding that "Despite many investigators looking at this issue, the agency does not find data from topical and inhalation chronic exposure animal and human studies submitted to date sufficient to change the monograph status of aluminum containing antiperspirants", therefore allowing their use and vowing to keep monitoring the scientific literature.[34] Members of the Scientific Committee on Consumer Safety (Europe) concluded that "due to the lack of adequate data on dermal penetration to estimate the internal dose of aluminium following cosmetic uses, risk assessment cannot be performed."[35]
คุณสมบัติทางเคมีและกลไกการออกฤทธิ์
ความเป็นพิษและข้อควรระวัง
การปฐมพยาบาล
เครดิต
http://www.neutron.rmutphysics.com/chemistry-glossary/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=0&Itemid=85&limit=9&limitstart=18