อาหารที่ผ่านการรับรองจากอย. ปลอดภัยจากเมลามีนค่ะ
Boonie1ความคืบหน้าการดําเนินงานเพื่อผู้บริโภคกรณีเมลามีน
เผย ผลตรวจการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนประกอบ 97 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปืี้อนสารเมลามีน 34 ตัวอย่าง ยังรอผลอีก 63 ตัวอย่าง คาดว่าจะทราบผล
เร็ว ๆ นี้ และจะทยอยแจ้งให้ทราบ ขอผู้บริโภคมั่นใจการดําเนินงานของ อย. วอนผู้บริโภคอย่าเสี่ยงซื้อผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย ที่ลักลอบนําเข้ามารับประทาน หากทราบเบาะแสการลักลอบขอให้
โทรแจ้ง 1669
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตั้งแต่มีกรณีผลิตภัณฑ์นมจากจีนปนเปื้อนสารเมลามีน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ติดตาม
ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด โดยได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากนมผง ได้แก่ ขนมปัง แคร็กเกอร์(ไส้ครีม) ไอศกรีม เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2551 จํานวน 97 ตัวอย่าง ผลการตรวจสอบพบว่า 34 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนสารเมลามีน ทั้งนี้ อีก 63 ตัวอย่าง กําลังรอผลตรวจวิเคราะห์ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะแจ้งผลการตรวจสอบ ให้ทราบเป็นระยะ ๆ
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ กล่าวต่อไปว่า วานนี้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เรียกประชุมหารือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนด
อาหารที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือจําหน่าย โดยอาหารที่ผลิต นําเข้า หรือจําหน่าย จะต้องไม่พบการปนเปื้อนสารเมลามีน (Melamine) และ สารในกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ กรดซัยยานูริก แอมมีไลน์
แอมมีลีน โดยมีเกณฑ์ในการปฏิบัติเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนตามธรรมชาติ จึงกําหนดเกณฑ์ความปลอดภัยอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเมลามีนและสารในกลุ้มเดียวกันไว้ว่า สําหรับนมผงทุกชนิด ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และสําหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีนมหรือองค์ประกอบของนมเป็นส่วนประกอบ ต้องไม่เกิน 2.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
นอกจากนี้ การนําเข้าอาหาร ดังกล่าวเพื่อจําหน่าย จะต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบของประเทศที่เป็นแหล่งผลิต หรือสถาบัน-เอกชนที่รับรองโดยหน่วยงานของรัฐที่รับรองประเทศที่เป็นแหล่งกําเนิดแล้ว ที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีการปนเปื้อนสารเมลามีนและสารในกลุ่มเดียวกันเกินเกณฑ์ความปลอดภัยที่กําหนด ซึ่งประกาศฉบับนี้ หากผู้ประกอบการรายใดฝ่าฝืนประกาศฉบับนี้ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท
ทั้งนี้ จะนําเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลงนามในประกาศฯ ก่อนลงประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันถัดจากไป ซึ่งก่อนประกาศฯ จะมีผลบังคับใช้ จะใช้พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เกี่ยวกับอาหารที่น่าจะเป็นอันตรายเจือปนอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ หากฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทยพร้อม-ด้วยเครื่องหมาย อย. มารับประทาน ไม่ควรเสี่ยงซื้อผลิตภัณฑ์ที่ลักลอบนําเข้า เพราะไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจาก อย. อาจมีการ ปนเปื้อนสารที่เป็นอันตรายได้ อย. ได้ตั้งวอร์รูม (War room) เพื่อติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้บริโภค อย. ได้นําข้อมูลและคําแนะนําสําหรับผู้บริโภคขึ้นเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th รวมทั้งรายงานสถานการณ์ความคืบหน้าจากการประชุมวอร์รูมขึ้นเว็บไซต์ทุกวัน
Discussion (1)