5 เทคนิค กินแป้งได้ แบบไม่ต้องกลัวอ้วน!

เพื่อนเคยมีปัญหาแบบญาดาบ้างมั้ย อยากผอมเลยไม่ยอมกินแป้ง เพราะกลัวอ้วนจนไม่ค่อยมีแรง สมองเบลอไปทั้งวัน เพราะแป้งนั้นมีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายต้องการมากก อดไปใช่ว่าจะดี วันนี้ญาดาเลยมีเทคนิคกินแป้งแบบไม่ต้องกลัวอ้วน มาบอกกัน!!

1. ทำความรู้จักแป้งให้มากขึ้น   

อย่างแรกคือเราต้องทำความรู้จักแป้งที่เป็นส่วนประกอบในอาหารซะก่อน จะได้รู้ทันและเลือกกินได้ถูก ไม่ยากเลยนะ เพราะ "แป้ง" ก็คือคาร์โบไฮเดรตที่แบ่งได้ 2 ประเภท แยกให้ออกล่ะ

  1. Low GI  (Low Glycemic Index) แป้งที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ช้า ประเภทนี้กินแล้วอยู่ในโซนปลอดภัย เพราะเป็นแป้งที่มีไฟเบอร์ เจ้าไฟเบอร์เป็นตัวช่วยให้แป้งถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ช้าลง ทำให้โอกาสในการสะสมไขมันมีน้อยลง 
  2. High GI (High Glycemic Index) แป้งที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็ว แบบนี้ถ้าขืนกินเข้าไปมาก มีสิทธิ์เพิ่มไขมันสะสมได้นะ ต้องระวังเลือกกินแป้งให้ถูกง่ายๆ แค่นี้ ก็ไม่อ้วนแล้วจ้าาา

2. แป้งจากธรรมชาติเปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้า คราวนี้มาดูว่าแป้งแบบไหนที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ช้าสุด ก็พวกแป้งที่มาจากธรรมชาตินี่แหละที่ปลอดภัยต่อน้ำหนักตัวที่สุด อย่างข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีต เส้นพาสต้า ฟักทอง ข้าวโอ๊ต แครอท ข้าวโพด มันเผา ดีต่อพุง ดีต่อใจ กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

3เลี่ยงแป้งที่ผ่านการขัดใยแป้งในกลุ่มนี้ยิ่งกิน ยิ่งเพิ่มไขมันสะสม เพราะตัวแป้งที่โดนขัดใยอาหารออกแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็วมาก แต่บอกเลยว่าเป็นแป้งที่สาวๆ ชอบบบ เพราะเส้นมันทั้งขาวอวบอ้วนน่ากิน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นมาม่า เส้นหมี่ ขนมจีน น้ำตาล โดนัท โอ้ยยย ใครจะไปห้ามใจได้ ท่องไว้ค่ะว่า อ้วน!!!

4. ไม่ใช่แป้งแต่ก็ทำจากแป้งนะ ระวังด้วยบรรดาน้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย ถึงแม้ว่าหน้าตาจะไม่ใช่แป้ง แต่บอกเลยว่า อยู่ในประเภท High GI นะจ๊ะ เพราะน้ำอัดลมผสมน้ำตาลเยอะมากจะได้ให้มีรสชาติอร่อย โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสซึ่งส่งผลเสียกับตับอย่างมาก มีสิทธิ์เป็นไขมันสะสมในตับได้ด้วยนะคะ ส่วนเครื่องดื่มชูกำลังก็ผสมน้ำตาลชนิดที่ดูดซึมได้ไว เพื่อให้รับประทานไปแล้วได้พลังงานไว จึงไม่แนะนำให้สาวๆ ซื้อมาดื่มบ่อยๆ เดี๋ยวจะเพิ่มน้ำหนักโดยที่ไม่รู้ตัวนะคะ

5. ฮอร์โมนต้องสมดุลย์เพื่อนๆ รู้มั้ยคะว่าในร่างกายของเราเนี่ย มีคลังที่เก็บแป้งและน้ำตาลอยู่ 2 ที่ คือ กล้ามเนื้อ และ ตับ แต่แป้งไม่สามารถเดินเข้าคลังได้เองถ้าไม่มีคนพาเข้าไป ร่างกายเราจึงมี “ฮอร์โมนอินซูลิน” ทำหน้าที่เสมือนเป็น Taxi นำผู้โดยสารไปส่งที่คลัง ถ้าฮอร์โมนในร่างกายสมดุลย์ก็สบายใจหายห่วงค่าา

เช่น เรากล้าไปกิน Honey Toast คนเดียวแบบไม่ชวนเพื่อน สิ่งที่เกิดขึ้นคือในกระแสเลือดของเราจะเต็มไปด้วยน้ำตาลจำนวนมหาศาล จนอินซูลินไม่สามารถเข้ามารับผู้โดยสารไปส่งได้ทัน สิ่งที่อินซูลินจะทำแทนที่จะเอาน้ำตาลไปเก็บในคลังก็คือ “เอาน้ำตาลเหล่านั้นไปเก็บเป็นไขมัน!!” ทำให้เกิดการสะสมไขมันเพิ่มขึ้นในร่างกายของเรานั่นเอง (โถ่....พี่อินซูลินทำกับฉันได้)

ทีนี้กลับกันถ้าเรากินคาร์โบไฮเดรตที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้า (Low GI) อินซูลินก็จะเอาน้ำตาลพวกนั้นไปเก็บในคลัง แปลว่าไม่เกิดการสะสมเป็นไขมัน แต่คลังเก็บแป้งของเราดันมีจำกัด เติมเข้าไปมากๆ มันก็เต็มได้เหมือนกัน และเมื่อไรที่มันถูกเก็บจนเต็มแล้ว แป้งส่วนที่เหลือก็ถูกนำไปเก็บเป็นไขมันอยู่ดี

ตารางแสดง ประเภทของคาร์โบไฮเดรต GI และปริมาณที่ควรกิน GL

Glycemic Index (GI) ช่วยแบ่งประเภทของคาร์โบไฮเดรต

  • GI ต่ำแสดงว่าเปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้า (แบบนี้ควรกิน)
  • GI สูงแสดงว่าเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็ว (แบบนี้มีสิทธิ์เพิ่มไขมันสะสม)
Glycemic Lode (GL) คือ ปริมาณที่ควรกิน

  • GL ต่ำ สามารถทานได้เยอะขึ้น
  • GL สูง ควรทานในปริมาณที่น้อย

เมื่อสาวๆ รู้อย่างงี้แล้ว ต่อไปก็สามารถที่จะเลือกประเภทของแป้งที่ดี กินแล้วเป็นมิตรกับร่างกายมากขึ้น จะได้ไม่อ้วนและสะสมเป็นไขมันบนตัวเราด้วยนะคะ

ตอนนี้ญาดากำลังศึกษาในเรื่องของ Fitness Nutrition Specialist และ Certified Personal Trainer อยู่ สาวๆ ที่ใส่ใจสุขภาพ ทั้งเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย กดติดตามกันได้นะคะ มีอะไรดีๆ มาแชร์กันอีกแน่นอนค่าาา

Discussion (10)

มีประโยชน์มากเลยค่ะ


เส้นพาสต้าอยู่ในข้อ 2 แป้งที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้าค่ะ พอดีว่าใส่รูปผิดตำแหน่งไปหน่อย -__-  แก้ไขให้แล้วค่าาา จะได้ไม่สับสน ขอบคุณมากนะคะ @Anniinez 


ชอบๆ ถามนิดนึงได้มั้ยคะ ข้อ2 ที่บอกจำพวกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้า. มีเส้นพาสต้า พอข้อ3 เป็นแป้งที่ผ่านการขัดใย ในรูปก็เป็นพาสต้านี่นา เลยอยากทราบว่าควรกินแบบไหนคะ