ค่า SPF บอกอะไรคุณ??
poi shemon9คือพวกครีมบำรุง, ครีมกันแดดมันก็จะมีค่า SPFต่างๆใช่มั้ยคะ
แล้วโป้ยก็รู้ว่าSPFค่าสูงๆดีกว่าค่าต่ำๆ แล้วราคาก็จะสูงตามไปด้วย
แต่ไม่รู้ว่ามันดีกว่ายังไงคะ
มันช่วยป้องกันแดดได้ดีขึ้นยังไงคะ
หรือว่ามันจะกันแดดได้นานกว่า
หรือยังไงคะ
ตอนนี้กำลังตัดสินใจจะซื้อครีมกันแดดค่ะ
แล้วก็ลังเลระหว่างSPF30 กับ SPF50
ก็เลยอยากรู้ว่าแบบSPF50เนี่ยมันดีกว่ายังไงคะ
ช่วยตอบด้วยค่ะ
แล้วโป้ยก็รู้ว่าSPFค่าสูงๆดีกว่าค่าต่ำๆ แล้วราคาก็จะสูงตามไปด้วย
แต่ไม่รู้ว่ามันดีกว่ายังไงคะ
มันช่วยป้องกันแดดได้ดีขึ้นยังไงคะ
หรือว่ามันจะกันแดดได้นานกว่า
หรือยังไงคะ
ตอนนี้กำลังตัดสินใจจะซื้อครีมกันแดดค่ะ
แล้วก็ลังเลระหว่างSPF30 กับ SPF50
ก็เลยอยากรู้ว่าแบบSPF50เนี่ยมันดีกว่ายังไงคะ
ช่วยตอบด้วยค่ะ
Discussion (9)
สุดท้ายแล้วค่ะ (ไม่รู้ยังมีคนอ่านอยู่เปล่า ^^")
สรุปแล้วการเลือกครีมกันแดด จึงไม่ควรพิจารณาจากค่า SPF เพียงอย่างเดียวค่ะ เพราะเป็นค่าที่บอกความสามารถในการป้องกัน UV-B เท่านั้นตามที่ได้อธิบายไปข้างต้น
การเลือกครีมกันแดดจึงควรพิจารณาดังนี้ค่ะ
1. ส่วนผสม ว่าสามารถป้องกัน UV ได้ทั้ง 2 ประเภท
2. กันน้ำกันเหงื่อได้ (waterproof/ water-resistance)
อะไรคือ waterproof และ water-resistant -- ข้อมูลจาก http://www.thaicosderm.org/public-info/sunscreen.htm
waterproof คือครีมกันแดดที่ยังคงสภาพSPF ที่กำหนด หลังจากทาครีมนี้ และอยู่ในนํ้าเป็นเวลา 80 นาที
water-resistant คือครีมกันแดดที่ยังคงสภาพSPF ที่กำหนด หลังจากทาครีมนี้ และอยู่ในนํ้าเป็นเวลา 40 นาที
3. กิจกรรมที่ทำ เช่น ทำงานในออฟฟิศ เล่นกีฬากลางแจ้ง ว่ายน้ำ แต่ละกิจกรรมมีความต้องการครีมกันแดดไม่เท่ากัน (อย่างที่คุณ fonkan ยกตัวอย่างไว้ใน reply แรก ชัดเจนมากๆค่ะ)
ครีมกันแดดที่มี spf สูงๆ บางครั้งก็เกินความจำเป็นค่ะ นอกจากจะแพงมากแล้ว ยังมีความเข้มข้นของสารเคมีต่างๆค่อนข้างมากทำให้เสี่ยงต่ออาการแพ้หรือระคายเคืองด้วยนะคะ
แอบเสริมเรื่องสุดท้ายค่ะ เกี่ยวกับสภาพผิวและประเภทของผิว
คนในโลกเราแบ่งง่ายๆตามชาติพันธุ์ต่างๆได้ตามนี้ค่ะ
1. คนผิวเผือก - ผิวขาว : เช่นชาวยุโรปเหนือ พวกนี้โดนแดดแล้วผิวจะไม่ค่อยแทน(ไม่คล้ำ)ค่ะ แต่จะผิวไหม้ง่ายมาก เราเลยเห็นดาราฝรั่งบางคนข๊าววววขาววว เค้าไม่ใช่ไม่โดนแดดนะคะ โดนค่ะแต่ไม่ค่อยคล้ำขึ้นเท่านั้นเอง ต้องใช้พวก suntan ช่วยให้ผิวแทน
พวกนี้ล่ะค่ะที่ควรจะใช้กันแดด spf สูงๆ เพราะผิวเค้าไหม้ง่ายกว่าคนไทยเรามาก
2. ผิวเหลือง - น้ำตาล : เช่นจีน ญี่ปุ่น ไทย หรือพวกที่อยู่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดนแดดแล้วผิวไหม้น้อยกว่าพวกแรกค่ะ แต่แทน/ คล้ำง่ายกว่า
3. ผิวแดง - ผิวดำ : เช่นชาวนิโกร โดนแดดแล้วผิวไม่ไหม้ ไม่คล้ำค่ะ
ข้อมูลส่วนใหญ่จากที่เคยเรียนมา + หาเพิ่มเติมจาก www.wikipedia.org ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้นะคะ >_<
สารต่างๆในครีมกันแดดแบ่งได้ง่ายๆตามวิธีการทำงานดังนี้ค่ะ
1. Chemical sunscreen - ทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV ไม่ให้ทำอันตรายผิวหนัง ตัวอย่างเช่น Oxybenzone ในการใช้งาน สารพวกนี้ต้องถูกซึมซับเข้าสู่ผิวหนัง จึงสามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายกว่า
Chemical sunscreen บางชนิดป้องกันได้แต่ UV-A บางชนิดกันได้แต่ UV-B บางชนิดกันได้ทั้งสองประเภท
2. Physical sunscreen - ทำหน้าที่สะท้อนรังสี UV ตัวอย่างเช่น titanium dioxide, zinc oxide สารจำพวกนี้จะถูกเคลือบอยู่บนผิว ไม่ต้องถูกดูดซึม จึงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ แต่ส่วนใหญ่จะทาแล้วเป็นคราบ จึงนิยมใช้ในครีมกันแดดสำหรับเด็ก (ไม่ต้องห่วงสวย ^^")
Physical sunscreen ทำหน้าที่สะท้อนรังสีออกจึงป้องกันได้ทั้ง UV-A และ UV-B
ตัวอย่างส่วนผสมของสารกันแดดที่ป้องกัน UV ประเภทต่างๆได้
UVA chemical sunblock sunscreen ingredients
Avobenzone, Parsol 1789
Dioxybenzone, UVB, UVAII
Ecamsule
Menthyl Anthranilate
Meradimate
Oxybenzone, benzophenone, benzophenone-3
Sulisobenzone, UVB, UVAII
Titanium Dioxide
Zinc oxide
UVB chemical sunblock sunscreen ingredients
Aminobenzoic acid
Cinnamates, octyl methoxycinnamate (OMC), Ethylhexyl p-Methoxycinnamate, high incident of contact irritation, non comedogenic, widely used.
Cinoxate
Dioxybenzone, UVB, UVAII
Ensulizole
Homosalate
Octocrylene
Octinoxate
Octisalate
Oxybenzone, UVB, UVAII
Octyl dimethyl paba
Padimate O
Para-aminobenzoic acid, PABA
Salicylates, octyl salicytate (OCS), high incident of contact irritation, widely used.
Sulisobenzone, UVB, UVAII
Titanium Dioxide
Trolamine salicylate
Zinc oxide
Physical sunblock ingredients – UVA and UVB protection, non-irritating, non-allergenic
Zinc oxide – recognized as a mild antimicrobial, wound healing and sunscreen agent. Primarily absorbs UVA light rather than scattering or reflecting, non-irritating, non-comedogenic, and micronized by forming many small micro particles for cosmetic use.
Titanium dioxide –derived from Titanium, a highly reflective white chalky mineral, non-irritating, non-comedogenic, micronized by forming many small micro particles for cosmetic use, listed in the FDA monograph as one the top and most effective active ingredients for sun protection.
ข้อมูลจาก http://www.911skin.com/sunblocks.html
ข้อมูลของคุณ fonkan ละเอียดดีมากๆเลยค่ะ แต่เราอยากจะขอเสริมเรื่องเกี่ยวกับ UV-A และ UV-B นิดนึงค่ะ เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น
UV คืออะไร
ในแสงที่เราเจออยู่ในชีวิตประจำวัน ทั้งแสงแดด และแสงไฟในห้อง ประกอบไปด้วยคลื่นแสงหลายๆความถี่ คลื่นแสงที่มีความถี่สูงมากจนตามองไม่เห็นกลุ่มหนึ่งเราเรียกว่า "รังสีเหนือม่วง" หรือ Ultraviolet (UV)
รังสี UV สามารถแบ่งย่อยเป็นประเภทต่างๆได้ ตามความถี่ของคลื่นและพลังงาน โดยแบ่งกว้างๆเป็น UV-A UV-B และ UV-C
UV-A เป็นประเภทที่มีพลังงานต่ำสุด แต่ลงมาถึงพื้นโลกมากที่สุด (ประมาณ 98.7%) ในขณะที่ UV-B และ UV-C ส่วนใหญ่ถูกสะท้อนออกไปโดยชั้นบรรยากาศ (แต่เนื่องจากชั้นบรรยากาศในปัจจุบันบางลงมาก รังสี UV-B จึงลงมาถึงพ้นโลกได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ UV-C เข้าใจว่ายังน้อยมากอยู่ค่ะ)
ผลของรังสี UV ต่อร่างกาย
รังสีแต่ละประเภทมีผลต่อร่างกายต่างกันค่ะ
UV-A -- ไม่ทำให้ผิวไหม้ แต่จะทำลายโครงสร้างผิวในระยะยาว ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย และทำให้ผิวหมองคล้ำ เป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนังได้ เนื่องจากทำให้เกิดสารจำพวกอนุมูลอิสระ (free radicals) ในร่างกาย
**และเนื่องจาก UV-A ไม่ส่งผลให้เกิดปฏิกริยากับร่างกายที่ชัดเจนในทันที จึงยังไม่มีหน่วยวัดความสามารถในการป้องกัน UV-A ของสารกันแดด**
UV-B -- ทำให้ผิวไหม้ (sunburn) ทำลายโครงสร้างผิวโดยตรง ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย และ UV-B ยังเป็นสาเหตุโดยตรงของมะเร็งผิวหนังบางประเภทด้วย
แต่การขาด UV-B ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกันค่ะ เนื่องจาก UV-B เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายของเราสร้างวิตามิน D การขาดวิตามิน D จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดีซึ่งทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกได้ค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราอาจทดแทนได้โดยการทานอาหารที่มีวิตามิน D ค่ะ
ตัวอย่างอาหารที่มีวิตามิน D ดูได้จาก link นี้ค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/Vitamin_D#In_food
**เนื่องจาก UV-B ส่งผลโดยตรงต่อผิวหนังทันที จึงสามารถกำหนดเกณฑ์วัดความสามารถในการป้องกันรังสี UV-B ในสารกันแดดได้ ก็คือ SPF นั่นเองค่ะ
เนื่องจากรังสี UV ทั้ง 2 ประเภทต่างก็มีอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นครีมกันแดดที่เลือกควรป้องกันรังสีทั้ง 2 ประเภทได้
ขอบคุณค่ะ