ศึกชิงกิมจิ จริงๆ แล้วกิมจิเป็นของประเทศไหนกันแน่

กิมจิเป็นอาหารประจำชาติเกาหลีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก แต่จริงๆ แล้วกิมจิไม่ได้มีแค่ในประเทศเกาหลีเท่านั้นนะ อาหารจีนและญี่ปุ่นก็มีกิมจิเหมือนกัน เกิดข้อถกเถียงระดับชาติกันบ่อยครั้งว่าจริงๆ แล้วกิมจิเป็นของประเทศไหนกันแน่

ต้นกำเนิดของกิมจิ
มีบันทึกไว้ว่ากิมจิมีมาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 7 และในสมัยสามก๊กของจีนอาหารหมักดองได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เป็นการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินในหน้าหนาว ชาวเกาหลี (โคกูรยอ) มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหารหมักดองมาก เช่น ไวน์ เต้าเจี้ยวเกาหลี ปลาเค็ม และปลาหมัก


ในตำรายารักษาโรคทางภาคตะวันออก (ฮันยักกูกึบบัง) ก็กล่าวถึงกิมจิว่ามี 2 ประเภท คือ กิมจิ-จางอาจิ ฝานหัวผักกาดเป็นแผ่นๆ แล้วดองด้วยซอสถั่วเหลือง และซุมมู โซกึมชอรี จะปรุงให้มีรสจัดมากกว่าแบบแรก

เมื่อเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นก็มีการทำกิมจิกันตลอดทั้งปี ไม่ใช่แค่ในหน้าหนาวเท่านั้น ในช่วงศตวรรษที่ 16 พริกแดงก็ได้เข้ามาในเกาหลี และกลายมาเป็นส่วนประกอบหลักในการทำกิมจิ กิมจิจึงมีสีแดงเหมือนที่เราเห็นในปัจจุบัน

กิมจิเกาหลี VS ญี่ปุ่น
เมื่อกิมจิได้รับความนิยมมากขึ้น ก็เริ่มกระจายไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงจีนและญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่เริ่มนำกิมจิมาเป็นเครื่องเคียงอาหาร เรียกกิมจิของตัวเองว่า “คิมุชิ” และปรับรสชาติให้เข้ากับอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น ใช้เวลาหมักน้อยกว่า ผักยังคงกรอบ แต่ความเข้มข้นก็จะลดลง มองภายนอกไม่ต่างกันมากเท่าไหร่

ดราม่าบังเกิดเมื่อชาวเกาหลีใต้ไม่พอใจคิมุชิ เพราะถือว่าทำให้ภาพลักษณ์ของกิมจิเสื่อมเสีย ปัจจุบันทั้งสองประเทศก็ยังคงโต้เถียงกันอยู่ว่ากิมจิเป็นของตนเอง
กิมจิเกาหลี VS จีน
ล่าสุดประเด็นนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันข้ามประเทศอย่างดุเดือด ระหว่างชาวโซเชียลจีนกับเกาหลี เมื่อ “เพ่าช่าย” หรือกิมจิแบบจีนซึ่งเป็นผักดองจากมลฑลเสฉวน ได้ผ่านรองรับมาตรฐานสากล (ISO) หนังสือพิมพ์ Global Times ของจีนเขียนรายงานเรื่องนี้ว่า “จีนเป็นผู้นำอุตสาหกรรมกิมจิตามมาตรฐานสากล”

ทำให้ชาวเกาหลีเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากที่จีนจะมาเคลมว่าเพ่าช่ายคือกิมจิ มีความคิดเห็นบางส่วนที่ไม่พอใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เช่น “ไร้สาระน่ะ เป็นโจรขโมยวัฒนธรรมของเรากันหรือไง”


ความจริงแล้วกิมจิในประเทศเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ผลิตที่จีน เพราะกำลังผลิตในเกาหลีใต้มีไม่มากพอ ชาวจีนก็โต้เถียงอย่างดุเดือดไม่แพ้กัน เช่น “ถ้าประเทศเธอไม่ได้มาตรฐานสากลนั่นก็ไม่ใช่กิมจิไง”

กระทรวงเกษตรของเกาหลีใต้ก็ได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ว่า เพ่าช่ายได้รับรอง ISO ไม่ได้ใช้กับกิมจิเลย ควรแยกให้เห็นความต่างว่าเพ่าช่ายต่างจากกิมจิยังไง

กิมจิมีมากกว่า 187 แบบ แต่ไม่ว่าจะเป็นกิมจิ คิมุชิ หรือเพ่าช่าย ก็มีส่วนประกอบหลักเหมือนกัน คือ ผักกาดขาวจีน หัวหอม กระเทียม พริกแดง และหัวหอมใหญ่  ส่วนผสมอื่นๆ และการปรุงรสก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการ 
แล้วเพื่อนๆ ล่ะ ชอบกินกิมจิของประเทศไหนมากที่สุด แยกออกมั้ยว่าแต่ละแบบต่างกันยังไง ของประเทศไหนอร่อยถูกปากที่สุด มาแลกเปลี่ยนกันได้เลยค่า

Discussion (8)

ของใครไม่รู้แต่แจนว่ามันอร่อยมาก
น่าลองค่าาา ?