ซีรีส์วายสุดปัง แต่ทำไมหลายประเทศยังไม่ค่อยผลิตกันน้า?
Kathalynn4210ช่วงนี้กระแสซีรีส์ประเภทวาย (Boy’s love / BL) หรือชายรักชายกำลังเป็นที่นิยมในประเทศของเราสุดๆ ถูกนำมาเสิร์ฟให้เราจิกหมอนกันไม่หยุด แม้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์วายนี้จะถูกเริ่มสร้างขึ้นมาเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่กระแสความนิยมในตอนนี้ก็ยังพุ่งแรงไม่มีตก
ซีรีส์วายคืออะไร แล้วทำไมต้องวาย?
จริงๆ แล้วคำว่าวาย หรือตัวอักษร ‘Y’ ย่อมาจาก ‘Yaoi’ มีจุดต้นกำเนิดในช่วงปลายยุค 70 ในญี่ปุ่น ซึ่งการล้อเลียนคาแร็กเตอร์ผู้ชายสองคนเป็นตัวเอกและเสนอในแง่มุมความรัก แต่จริงๆ ก็ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนยังไม่รู้ นั่นคือ คำว่าวายยังรวมถึง ‘Yuri’ ที่เป็นกลุ่มหญิงรักหญิงอยู่ด้วยนะจ๊ะ เพียงแต่การนำเสนอคอนเทนต์ซีรีส์ Yuri นี้ยังไม่เป็นที่นิยมวงกว้างเท่าไหร่ จึงทำให้พอพูดถึงคำว่า ‘วาย’ แล้ว คนจะนึกถึง ‘Yaoi’ มากกว่านั่นเอง
กระแสดีจะตาย แต่ทำไมต่างประเทศไม่ค่อยผลิต
อย่างที่เราบอกไป ความต้องการในการเสพคอนเทนต์ซีรีส์วายกำลังเป็นที่นิยมและเป็นช่องทางที่ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี แต่ที่น่าแปลกใจคือ นอกจากประเทศไทยแล้ว ประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียกลับผลิตผลงานประเภทนี้ออกมาน้อย ทั้งๆ งานซีรีส์ของเอเชียหลายๆ ประเทศก็ดังเป็นพลุแตก ราลองมาดูอุตสาหกรรมสื่อ และการผลิตคอนเทนต์ประเภทวายแยกตามประเทศ ในแถบเอเชียกันดีกว่า
มาเริ่มที่ "ประเทศจีน" กันก่อนเลยค่ะ
ฐานแฟนคลับวายในประเทศจีนแท้จริงแล้วมีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว แต่จำนวนการผลิตซีรีส์วายในกลับย้อนแย้ง มีแม่จีนจำนวนไม่น้อยที่ยอมแหวก VPN และเข้ามาเสพคอนเทนต์วายของต่างประเทศ รวมถึงของประเทศเราด้วย
สาเหตุหนึ่งคือคนจีนส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นในคำสอนของขงจื๊อ บทบาทของผู้ชายผู้หญิงที่ชัดเจน ว่าผู้ชายต้องเป็นผู้นำและเป็นหัวหน้าครอบครัว ส่วนผู้หญิงเป็นผู้สนับสนุน และทั้งสองมีบทบาทหน้าที่ของการเป็นสามีภรรยา ซึ่งต้องสืบทอดวงศ์สกุลต่อ มีค่านิยมที่สนับสนุนการแต่งงานมากกว่าครองตัวเป็นโสด การมีสื่อประเภทนี้ออกมาอาจทำให้ค่านิยมนี้เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อความเชื่อในมุมมองของคนจีนสมัยก่อน รวมถึงผู้ใหญ่ที่ยังยึดติดขนบธรรมเนียมแบบเดิม
แต่ก็ยังมีนิยายวายจีนที่ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีส์อยู่เหมือนกัน คาดว่าเพื่อนๆ หลายคนน่าจะพอได้ยินหรือได้ดูมาแล้ว อย่างเรื่อง ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ที่สามารถตกเอฟซีชาวไทยไปไม่น้อย แม้พล็อตจะเป็นเรื่องความรักของผู้ชาย แต่เมื่อนำเสนอในรูปของซีรีส์ ทางผู้จัดเองก็มีการปรับบทบาทและนำเสนอในมุมมองของมิตรภาพมากกว่า แต่ถึงอย่างนั้นยังมีประเด็นปล่อยออกมาบ่อยครั้งว่าจะเริ่มแบน แม้จะมีการโต้แย้งจากคนดูในเรื่องการเปลี่ยนประเด็นนำเสนอแล้วก็ตาม สุดท้ายก็ต้องติดตามดูว่าบทสรุปของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ตามมาที่ฝั่ง 'เกาหลี' กันบ้าง....
อย่างที่เรารู้กันว่าประเทศเกาหลีก็เป็นประเทศหนึ่งยังไม่ได้เปิดเสรี เรื่อง LGBTQ+ เท่าไหร่ โดยมีสาเหตุเดียวกัน คือ การนับถือคำสอนขงจื๊อเช่นเดียวกับของจีน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนส่วนใหญ่จะยังไม่เปิดกว้างด้านนี้ ถึงแม้ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่การถูกเลือกปฏิบัติและการแสดงออกของคนในสังคม ก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่แสดงถึงการต่อต้าน LGBTQ+ ของสังคมเกาหลี
นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า แม้เกาหลีจะสามารถผลิตซีรีส์ในแนวต่างๆ จนเป็นคนอินไปปทั่วโลก แต่การผลิตสื่อวายออกมากลับน้อยกว่าที่ควร
แต่เมื่อปีที่ผ่านมา Where Your Eyes Linger ก็ถูกปล่อยออกมา แม้ไม่ใช่ซีรีส์ฟอร์มยักษ์พร้อมขายเหมือนเรื่องอื่นๆ ฉายเพียงตอนละประมาณ 10 นาทีและมีเพียง 8 ตอน เป็นแนวออกมาปูทางก่อนมากกว่า รวมถึงเนื้อเรื่องที่ไม่ได้แปลกใหม่ เป็นเรื่องของเพื่อนที่ผ่านเรื่องราวต่างๆ ด้วยกัน และความเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์ก็เริ่มตามมา แต่ก็เรียกกระแสตอบรับกลับไปได้ดีทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นคือเนื้อเรื่องแสดงออกมาชัดเจนว่าเป็นเรื่องชายรักชาย มีฉากเลิฟซีนให้ผู้ชมฟินของจริง ไม่ปล่อยให้คนตีความไปเองว่าเป็นเฟรนด์โซน ยิ่งทำให้ซีรีส์น่าสนใจและตกสาววายไทยไปไม่น้อยเลยทีเดียว
ถ้าวันหนึ่งเกาหลีสามารถก้าวข้ามแนวคิดเกี่ยวกับซีรีย์วายได้เมื่อไหร่ ตลาดวายต้องแข่งขันสูงแน่นอน และมั่นใจได้เลยว่าเราต้องมีซีรีส์วายดีๆ ให้ติดตามได้อีกเพียบ
ปิดท้ายที่ "ญี่ปุ่น"....
ต้องบอกได้เลยว่าญี่ปุ่นเองก็เป็นประเทศหนึ่งที่น่าจับตามองในเรื่องของการนำเสนอคอนเทนต์ซีรีส์วาย ก็เป็นต้นกำเนิดของคำว่า Yaoi เลยนี่หน่า! ก่อนหน้าที่จะผลิตซีรีส์เองก็มีนำเสนอคอนเทนต์วายในรูปของมังงะ (manga) มาก่อนอยู่แล้ว
การเปิดกว้างด้าน LGBTQ+ ของญี่ปุ่นก็มาไกลกว่าที่หลายๆ คนคาดคิด แถมล่าสุด ศาลแขวงซับโปโร ในจังหวัดฮอกไกโด ได้มีคำตัดสินครั้งสำคัญในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นั่นคือ การที่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้จะยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับว่าการการแต่งงานเพศเดียวกันเป็นเรื่องถูกกฎหมาย แต่คำประกาศดังกล่าวเปรียบเสมือนชัยชนะเชิงสัญลักษณ์ของนักเคลื่อนไหว LGBTQ+ เช่นเดียวกัน
ญี่ปุ่นเองก็เคยเสิร์ฟคอนเทนต์ซีรีส์วายออกมาก่อนหน้านี้แล้วเช่นเดียวกัน แม้จะไม่ได้ผลิตออกมารัวๆ เหมือนฝั่งบ้านเรา แต่เนื้อเรื่องเองก็น่าติดตาม ยังคงมีทั้งแนวอบอุ่นน่ารัก และหน่วงที่สายญี่ปุ่นน่าจะเข้าใจ
ตัวอย่างซีรีส์ที่สาวกชาวไทยแนะนำก็เป็นเรื่อง Cherry Magic ซึ่งเป็นเรื่องที่เล่าเกี่ยวกับความสามารถพิเศษตัวเอกที่มีพลังวิเศษ สามารถอ่านใจคนได้ผ่านการสัมผัส และพบว่าหนุ่มคนหนึ่งในที่ทำงานอาคารเดียวกันแอบหลงรักเขามานานแล้ว
Discussion (10)