เที่ยวจันท์ 3 : ทัวร์ธรรมชาติ v.2

โหว กว่าจะได้มาอัพตอนนี้หงิกเลยนะ แทบลืมไปหมดแล้วก๊ากก อ่ะต่อๆ ให้จบตอนดีกว่าเน้อ

หลัง จากไปเที่ยวอ่าวกระทิง และ สะพานแหลมสิงห์หนก่อน เย็นนั้นหม่ำๆ ส้มตำ ขนมจีน กันที่บ้านเจ๊คนรู้จัก บ้านติดทะเล สวยเชียว ทีแรกว่าจะไปเดินเล่นงานประจำปี แต่ว่าขาอ่อนหมดแรง เลยกลับไปพักผ่อนตามอัธยาศัยแทน และไม่ลืมที่จะแย่งกันเล่นเกมส์เช่นเคย -*-

พอ เช้าวันขึ้นปีใหม่ 2552 ไม่ได้ตืนไปทำบุญใส่บาตร เพราะนอนอืดเกินไป ลงมาหม่ำที่ร้านอาหารครัวท่าหลวงแล้วจึงออกเดินทาง สักการะสถานที่คู่บ้านคู่เมืองจันท์กัน ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน เอาฤกษ์ เอาชััยกันวันปีใหม่ คนเยอะทีเดียวเชียว



และ ไม่ลืมที่จะไปไหว้ท่านพ่อลี ณ วัดป่าคลองกุ้งด้วย (บ้านอิชั้นและตาพรหล้า นับถือท่าน พรหล้าชอบไปวัดป่าฯ เพราะสงบร่มเย็น ชอบไหว้พระ และไปวัดด้วย)

จาก นั้นครอบครัวอิชั้นและ ป้าๆ เพือนบ้าน ก็ออกเดินทางทะลอนทัวร์อีกครั้ง วันนี้เราจะไป ศูนย์ศึกษาธรรมชาิติ ป่าชายเลน อ่าวคุ้งกระเบนกันจ้า

มาทำความรู้จัก ที่มาของโครงการนี้กันคร่าวๆ เน้อ
ป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี

ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยงานป่าไม้ ได้เล็งเห็นความสำคัญของป่าชายเลนที่มีต่อระบบนิเวศวิทยา และการปลูกจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน จึงได้จัดสร้างสะพานทางเดินทอดตัวคดเคี้ยวไปตามแนวป่าชายเลนบริเวณอ่าวคุ้ง กระเบน ซึ่งจะผ่านพื้นที่ปลูกป่าชายเลนเดิมที่สมบูรณ์และพื้นที่ฟื้นฟู โดยผสมผสานระหว่างการปลูกป่าและการเลี้ยงปลากะพงขาว ตลอดเส้นทางเดินมีศาลาสื่อความหมายอธิบายให้ทราบถึงประโยชน์ระบบนิเวศวิทยา ห่วงโซ่อาหารในแง่มุมต่างๆ ของป่าชายเลนเส้นทางเดินดังกล่าวมีความยาวประมาณ 1,600 เมตร

สะพาน เดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน ตั้งอยู่ตรงข้ามศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เวลาเพียง 30-45 นาที บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง 850 เมตร จะทำให้ได้รับความรู้ และความประทับใจในธรรมชาติ

ที่นี่มีแปลงสาธิต เลี้ยงหอยนางรมแบบแขวนที่ช่วยในการบำบัดน้ำเสีย โดยจะเลี้ยงขวางคลองน้ำทิ้ง เพื่อให้หอยนางรมดักจับกินแพลงตอนที่ปะปนมากับน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้ง และปล่อยน้ำดีออกมากับน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้ง เป็นการช่วยบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติอีกทางหนึ่ง

ในอดีตอ่าวแห่ง นี้อุดมสมบูรณ์ด้วยหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร ที่หลบภัย วางไข่ และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด รวมทั้ง พะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินหญ้าทะเลเป็นอาหารก็เคยมีอยู่อย่างชุกชุม พะยูนในภาษาพื้นบ้านเรียกว่า “หมูดุด” หรือ “ดุด” บางคนเรียกว่า “วัวทะเล” เพราะการกินอาหารคล้ายวัวเล็มหญ้า ปัจจุบันอ่าวคุ้งกระเบนไม่มีหมูดุดอาศัยอยู่แล้ว

อ่าวคุ้ง กระเบน มีลักษณะพิเศษคือถูกปิดล้อมด้วยสันทราย มีทางเข้าออกของน้ำทะเลเพียงทางเดียวและมีคลองน้ำจืดหลายสายไหลลงอ่าว อาณาบริเวณรอบๆ เป็นที่ตั้งของ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน” อันเป็นโครงการในพระราชดำริเพื่อพัฒนาพื้นที่อย่างครบวงจรด้วยวิทยาการสมัย ใหม่

ภายในมีบ่อสาธิตการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด ซึ่งหลายคนสนใจไปเที่ยวชม และจากสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยป่าโกงกาง ที่นี่จึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจธรรมชาติชายฝั่งและระบบนิเวศของป่าชายเลน ป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบนอยู่ตรงข้ามชายหาดแหลมเสด็จ มีพื้นที่ 1,100 ไร่ ส่วนหนึ่งมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าคุ้งกระเบนและป่าอ่าวแขมหนู แต่เดิมเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรม ต่อมาได้รับการฟื้นฟูให้อยู่ในสภาพเดิม มีไม้ขนาดใหญ่หลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ยังมีทางเดินสำหรับให้เดินศึกษาด้วยตนเอง โดยสามารถเดินบนสะพานไม้ความยาว 850 ม. ที่ทอดไปในผืนป่า มีศาลาข้อมูลความรู้ต่าง ๆ แปดศาลา คือ

ศาลา 1 กำเนิดอ่าวคุ้งกระเบน อธิบายปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการกัดเซาะเทือกเขาเล็ก ๆ ที่โอบตัวปิดล้อมพรุบริเวณริมฝั่งทะเลเมื่อ 345 ล้านปีก่อน กระทั่งกลายเป็นอ่าวเมื่อ 1,500 ปีที่ผ่านมา

ศาลา 2 ไม้เบิก อธิบายถึงพันธุ์ไม้แสมดำและแสมขาวที่เป็นไม้เบิกนำการก่อกำเนิดป่าชายเลน ก่อนที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์

ศาลา 3 ดงฝาด เป็นจุดที่สวยงามไปด้วยดงต้นฝาด ต้นฝาดแดงจะให้ดอกแดง ส่วนต้นฝาดขาวจะให้ดอกขาว เมื่อผลิดอกเล็ก ๆ จะละลานตาไปทั่ว ต้นฝาดเป็นไม้ที่มีประโยชน์มาก เช่น เนื้อไม้ใช้ย้อมจีวรพระ หรือทำถ่านหุงต้ม ทุบแช่แมงกะพรุน เป็นต้น

ศาลา 4 ป่าปลูก เป็นจุดฟื้นฟูสภาพป่า เดิมมีดงหญ้าทะเลหนาแน่น เคยมีพะยูน หรือหมูดุด อยู่อย่างชุกชุม แต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปจากอ่าวคุ้งกระเบนแล้ว นอกจากนี้ยังอธิบายถึงประโยชน์ของปูก้ามดาบในระบบนิเวศป่าชายเลน ก่อนถึงศาลาที่ 5 จะต้องเดินข้ามสะพานแขวนตรงจุดที่เป็นร่องน้ำไหล เพิ่มรสชาติในการเดินเท้าได้ดีทีเดียว

ศาลา 5 ปู่แสม เป็นอีกจุดที่น่าประทับใจ โดยมีสะพานไม้ล้อมรอบต้นแสมขาวโบราณขนาดใหญ่ร่วมสิบคนโอบ ชาวบ้านศรัทธาแสมขาวโบราณต้นนี้โดยเรียกว่าปู่ขาว ปู่แสมมีลำต้นเพียงครึ่งซีก เพราะเคยถูกไฟไหม้ที่ลำต้นในยุคที่ป่าชายเลนที่นี่ยังไม่ได้รับการฟื้นฟู

ศาลา 6 โกงกาง อยู่สุดปลายสะพานก่อนทางเดินจะวกกลับ พื้นที่บริเวณนี้หนาแน่นด้วยโกงกางใบเล็ก อายุไม่น้อยกว่า 30 ปี โกงกางเป็นไม้เด่นในป่าชายเลน โดยพบมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่า บริเวณศาลาแห่งนี้จะมีข้อมูลรายละเอียดประโยชน์ของโกงกาง เช่น เปลือกไม้ใช้ต้มเป็นยาแก้ท้องร่วง บิด หรือพอกแผล ห้ามเลือด หรือหากนำไม้โกงกางมาเผา ก็จะได้ถ่านคุณภาพดี ให้ความร้อนสูงมากกว่าถ่านที่เผาจากไม้ชนิดอื่น
ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ

ศาลาที่ 7 ป่าไม้ - ประมง อธิบายเรื่องการปลูกป่าชายเลนควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลากระพงขาว

สุด ท้ายคือ ศาลา 8 เชิงทรง หรือป่ารอยต่อระหว่างป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าบก ช่วงรอยต่อระหว่างป่าชนิดต่าง ๆ ดังกล่าวจะมีพรรณไม้ทั้งป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าบก ปะปนกันไป เนื่องจากบางเดือนที่น้ำท่วมถึงบริเวณป่าบกหรือท่วมเข้ามาถึงชายฝั่ง ก็ได้นำต้นพันธุ์ของไม้ชายเลนเข้าไปเจริญเติบโตผสมกับป่าบก พันธุ์ไม้บริเวณนี้จึงมีทั้งตะบูนขาว ตะบูนดำ ไม้ตะบัน ของป่าชายเลน และดอกดองดึงสีเหลืองแดง ต้นเท้ายายม่อมของป่าบก

ที่อยู่ : อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
เวลาให้บริการ :08:00-18.00 (ทุกวัน)
การเดินทาง :รถ ยนต์ส่วนตัว จาก ตัวเมืองจันทบุรี ไปตาม ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงหมายเลข 3) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 301 จะมีแยกเลี้ยวซ้ายเข้าไปตาม ทางหลวงหมายเลข 3399 อีกประมาณ 18 กม. ก็จะถึงยังที่ทำการศูนย์ฯ
ค่าบริการ :ท่องเที่ยวฟรีค่ะ นอกจากอยากจะทำกิจกรรมเช่น พายเรือ คายัคและอื่นๆ ที่ทางศูนย์จัดไว้บริการ ก็สามารถสอบถามจากด้านล่างได้ค่ะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคกลาง เขต 4 (ระยอง-จันทบุรี).
153/4 ถ.สุขุมวิท ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง 21000
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 3936 9215 - 8
เบอร์โทรสาร : +66 (0) 3936 9219

credit 1 : http://www.kohchang2.com/sapan_kungkrabane.html

credit 2 : รายละเอียดน่าสนใจ ลองอ่านที่นี่ได้ค่ะ
http://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=91

credit 3 : รายละเอียดน่าสนใจ ลองอ่านที่นี่ได้ค่ะ
http://www.chanforchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538722334&Ntype=15


วัน นั้นคนค่อนข้างเยอะเหมือนกัน เพราะว่าเป็นวันหยุดแล้วที่นี่ก็เป็นที่พักผ่อนของครอบครัวเป็นอย่างดีค่ะ เพราะว่าอากาศสดชื่นสุดๆ เป็นทะเล แล้วก็มีต้นไม้เขียวขจี มีป่าแสม โกงกาง ฯลฯ ที่ปลูกเอาไว้ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง และ เป็นที่อนุบาลสัตว์น้ำด้วย


เห็น อยู่ลิบๆ นั่นคือ เรือคาัยัคค่ะ สำหรับการท่องเทียวแบบกลุ่มต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่นะจ๊ะ ส่วนพวกเราเดินท่องเทียวตามใจฉัน จุดท่องเทียวมีหลายที่เลย ทั้งสะพานแขวน สะพานไม้ทอดยาวไปจนถึงที่โล่ง นอกจากนั้นยังมีจุดนั่งพักผ่อน ยืดแข้งยืดขา ลมเย็นมาก ง่วงเลย อิอิ

เดินเทียวเล่นจนหมดทุกด่านที่เค้าเปิดให้ชม (ไม่รวมด่านสำหรับหมู่คณะนะคะ) พวกเราก็ไปกันต่อที่ทะเลเดียว เพื่อนั่งหม่ำอาหารทะเล มื้อเย็นซะเลย ระหว่างทางขับรถขึ้นเขา เห็นวิวงดงามอีกหลายแห่ง แต่ถ่ายไม่ทัน

แวะซื้อทอดมันปลากราย ห่อหมก และ หมึกไข่ย่างกันระหว่างทางด้วย แล้วก็หาร้านนั่งกันริมหาด ทะเลเดียว ค่ะ หาดนี้น้องชายอิชั้นแนะนำมาเป็นหาดที่ต้องแยกเข้ามาจากทางเส้นหลัก แถวๆ เจ้าหลาวค่ะ


ยั่วกันด้วยข้าวผัดทะเลรวมมิตร
ปลาทอดราดน้ำปลา และ น้ำจิ้มรสเด็ด
หมึกไข่ย่าง และ น้ำจิ้มพริกเกลือ
ห่อหมกทะเล แง่บๆ
ทอดมันปลากราย เหนียวนุ่มรสชาติดี
ต้มยำรวมมิตร
หมึกไข่นึ่งมะนาว

โอ่ยงานนี้เปรมอีกแล้วฮ่ะ


พอ หม่ำเสร็จ พวกเรา ก็ไปเดินเล่นชายหาด มีเด็กๆ เล่นน้ำ และครอบครัวมาพักผ่อนเรียงรายเต็มหาดเลย มีรีสอร์ทหลายแห่งด้วยค่ะ พวกเราเดินเล่นไปสุดหาด แล้วก็เดินกลับมาที่ร้านอาหาร นั่งดูพระอาทิตย์ตกกัน แล้วก็รอ หลานๆ ที่ไปเล่นน้ำ อาบน้ำอาบท่า แล้วก็พากันกลับบ้าน

กว่าจะกลับทีพักก็ดึกโข ชาวประชา หลับนก หัวสัปหงก หงึกๆ กันตลอดทางกลับเลย พวกอิชั้นและชายพรหล้า สลบเหมือด (ก่อนสลบยังไม่วายแย่งกันเล่นเกมส์ ฮึ่ย...)

สำหรับวันต่อๆ มาก็พักผ่อนอยู่กับบ้านแล้วเน้น ไปเดินสาย หม่ำกันให้พุงหลาม เรียกว่า อิ่มเอมเปรมปรีย์ กับวันหยุด 5 วันช่วงปีใหม่เลยอิชั้น ทั้งได้พบครอบครัว ไปเทียวพักผ่อน แล้วที่ร๊ากกก็มาหาด้วย

แล้วพบกับทู้ส่วนตัวพาเที่ยว กิน แบบไร้สาระ เร็วๆ นี้นะจ๊ะ ไม่ได้อัพใน ลั๊นลานะ อิอิ พาเที่ยวมีสาระจึงจบด้วยประการละฉะนี้แล 555

Discussion (44)

น่ารักกกกก
ดูโรแมนติกแบบไม่น่าเชื่อ ^^

หิวววววว...อาหารน่ากินมากๆค่า



อยากไปเที่ยวบ้างงงจัง^^

ชริ อิจฉา เฟร้ย ไม่ได้ไปเที่ยวตจว. มาจะปีนึงแล้ว เศร้าใจจริงๆ

^
^
นิชชี่ คนบ้านเดียวกันหรอเนี่ย สาวจันเยอะจิงวุ้ยย
 กลับบ้านนนนนนนนนนนนน ด่วนไอ้ณิช อาหารอุดมสมบรูณมาก