น้ำมันงา สรรพคุณความงามและสุขภาพ
SPcorona13พอดีเห็นคุณแม่ซื้อน้ำมันงา เลยแอบไปหาข้อมูลมาและพบว่า สรรพคุณของน้ำมันงามีประโยชน์มากมายไม่แพ้ น้ำมันมะพร้าวเลยครับ
สรรพคุณ
คนโบราณนิยมใช้น้ำมันงาในการรักษาตัวเองมานานหลายพันปีมาแล้ว ทั้งในประเทศอินเดียและจีน สรรพคุณต่างๆที่รวบรวมได้มีดังนี้
- มีสรรพคุณต้านแบคทีเรีย รา และไวรัส
- สามารถลดการอักเสบ
- มีรายงานการทดลองว่าสามารถทำให้หลอดเลือดแดงดีขึ้น ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด (Atherosclerosis)
- ใช้กับโรคเรื้อรัง เช่น ตับอักเสบ เบาหวาน และปวดศีรษะเรื้อรัง
- ในการศึกษาทดสอบในห้องปฏิบัติการ น้ำมันงาสามารถสกัดการเติบโตของเซลล์มะเร็งผิวหนัง (malignant melanoma) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจเป็นเพราะมีกรด linoleic ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น (EFA)
- มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเมื่อซึมซับลงไปใต้ผิวหนังแล้วจะทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น จึงมีสรรพคุณต้านการเกิดมะเร็งด้วย
- เมื่อเข้าสู่หลอดเลือดจะช่วยลดจำนวนไลโปโปรตีนชนิดเบา (LDL) ในหลอดเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- น้ำมันงาช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ให้เป็นปกติ
- ภายในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เซลล์บางชนิดใช้ไขมันแทนน้ำตาล น้ำมันงาจะเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับเซลล์เหล่านี้
- เมื่อใช้กลั้วคอและบ้วนปากจะลดเชื้อที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เชื้อก่อโรคเจ็บคอ และเชื้อหวัด
- ใช้หยอดจมูก (1-2 หยด) เมื่อเป็นไซนัสพบว่าได้ผลดี
- ใช้ทาผิวผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง (Psoriasis) และผู้มีผิวแห้ง
- ใช้ทาผิวและเคลือบเส้นผมเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดและลม
- เมื่อทาผิวหนังจะช่วยจับสารพิษชนิดละลายน้ำได้ และเมื่อล้างหรืออาบน้ำ สารพิษที่จับไว้ก็จะหลุดไป น้ำมันงาจะช่วยจับสารพิษในกระแสเลือดเช่นเดียวกัน และนำไปสู่การขจัดออกจากร่างกายต่อไป
- เมื่อใช้ทาผมและนวดศีรษะจะช่วยให้หนังศีรษะไม่แห้ง และช่วยรักษาเหาในกรณีที่เด็กติดเหา
- การทาน้ำมันงานอกจากจะทำให้ผิวนุ่มแล้วจะช่วยรักษาแผลเล็กน้อยได้ เมื่อใช้เป็นน้ำมันนวดให้ใช้ทาแขนขาในลักษณะขึ้นลงและใช้วิธีคลึงเป็นวงกลมรอบๆ ข้อต่อ เพื่อกระตุ้นพลังธรรมชาติของข้อ ช่วยลดอาการปวดตามข้อได้ ชาวธิเบตใช้หยดจมูกข้างละ 1 หยดเพื่อช่วยให้นอนหลับ และลดความกระวนกระวาย
- ใช้ทาผิวหน้าจะทำให้ผิวตึงขึ้น เมื่อทาบริเวณจมูกจะทำให้รูขุมขนไม่ให้เปิดมากไป ป้องกันการแก่ตัวของผิวหน้า ใช้ได้ดีแม้กับวัยรุ่นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสำอางอื่นๆ เลย
- ใช้ทาให้ทั่วตัวก่อนว่ายน้ำเพื่อป้องกันการเกิดระคายเคือง จากสารคลอรีนที่ผสมไว้ในสระว่ายน้ำ น้ำมันงาดูดซึมเร็วไม่ติดค้างอยู่บนผิว
- สำหรับผู้ต้องรับการรักษาด้วยการฉายรังสี น้ำมันงาจะช่วยบรรเทาอันตรายจากออกซิเจนอิสระที่เกิดจากการรักษาชนิดนี้
- ผสมน้ำชำระส่วนปกปิดจะช่วยป้องกันโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการคัน (Vaginal yeast infections) และเนื่องจากน้ำมันงามีสารที่มีผลคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง จึงมีผู้ใช้ทาเฉพาะที่เพื่อช่วยลดการเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดการบางตัวของผิวที่อาจทำให้มีอาการระคายเคืองเมื่อฮอร์โมนหญิงลดลง ชาวอินเดียใช้ทาหน้าท้องเมื่อปวดประจำเดือน
- สำหรับทารกน้ำมันงาจะช่วยป้องกันการเกิดการระคาย เกิดผื่นแดงที่ผิวจากปัสสาวะและความอับชื้น (rash) เมื่อใช้ทาผิวบริเวณจมูกและหูจะช่วยป้องกันโรคผิวหนังที่อาจเกิดบริเวณเหล่านี้ สำหรับเด็กที่เป็นหวัดและติดหวัดบ่อย ใช้น้ำมันงาเช็ดภายในผนังจมูกเล็กน้อยจะช่วยลดการติดเชื้อที่มาเข้าสู่ร่างกายได้
- มีผลในการระบายท้อง (Laxative) โดยจิบเพียง 1 ช้อนชาก่อนนอน อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก แต่อย่าใช้ขณะท้องร่วง
หมายเหตุ
น้ำมันงาที่หีบโดยวิธีไม่ใช้ความร้อนจะมีสีเหลืองใสออกเขียวเล็กน้อย และมีกลิ่นอ่อน ไม่ควรใช้กินมากกว่า 10% ของจำนวนแคลอรี่ต่อวันหนึ่งๆ หากมีอาการแพ้ควรงดใช้ เช่นเดียวกับอาหารและน้ำมันอื่นๆ
Discussion (13)